Monday, June 8, 2015

เรื่องของชา: เส้นทางของใบชาหลงจิ่ง 茶事:一片龙井树叶的旅行

วันนี้มีเรื่องน่าสนใจมาฝากค่ะเป็นเรื่องโลกของใบชาหลงจิ่ง ที่เป็นชาที่ (ว่ากันว่า) ดีที่สุดประเภทหนึ่ง โดยข่าวนี้เล่าถึงเส้นทางของใบชา 3 สาย ได้แก่คนเก็บใบชา เจ้าของร้านชาและคนดื่มชา ว่ามีเส้นทางหรือที่มาที่ไปเป็นอย่างไร

จขกท.เองก็ได้ยินมานานว่าชาหลงจิ่งที่ดีที่สุดอยู่ที่หางโจว แต่เพิ่งรู้ว่าชาหลงจิ่งที่แพงที่สุดคือใบชาต้นเทศกาลเช้งเม้ง มาติดตามเรื่องราวของใบชาหลงจิ่งที่ขายกันเป็นกรัมตั้งแต่กรัมละ 300 จนไปถึงกรัมละ 3,000 บาท

ติดตามกันได้เลยค่ะ

จากพาดหัวข่าว茶事:一片龙井树叶的旅行
• 茶事 (ฉา ซื่อ) = เรื่องของชา
• 一片 (อี เพี่ยน) = ใบชาหนึ่งใบ
• 龙井 (หลง จิ่ง) = ชื่อชา (หลง = มังกร) (จิ่ง = บ่อน้ำ)
• 树叶 (ซู่ เย่ว์) = ใบไม้
• 旅行(หลู่ย์ สิง) = การเดินทาง

Credit: http://slide.news.sina.com.cn/z/slide_1_33131_60063.html#p=1


เพียงเพื่อชาหนึ่งแก้ว จริงๆ แล้วต้องมีคนเกี่ยวข้องสักกี่คน เดินทางไป (เสาะหา) สักกี่แห่ง ก็เหมือนกับชาหลงจิ่งและเส้นทางของอุตสาหกรรมชาที่เชื่อมเข้าด้วยกันและมีหลายวงจรทับซ้อนกันอยู่ ความจริงแล้วชาไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ชายังมีความหมายถึงการติดต่อทางสังคมและการใช้ชีวิตอีกประเภทหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าระหว่างการจิบชา สนใจชา ขายชา หรือเรียนรู้เพื่อรู้จักชาให้มากขึ้นจะไม่มีเส้นแบ่งขีดที่ชัดเจน แต่ว่า “วงจรของชา” ยังหมายถึงการที่คนเข้าใจชีวิตมากขึ้น และเกี่ยวพันกับชาไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม

สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ข่าวจีนหรือเรียนภาษาจีน ติดตามเรื่องอื่นๆ ได้ที่ fan page จขกท.ได้ค่ะ ที่ https://www.facebook.com/simplychinese
ขอบคุณมากค่ะ



ภาพในนี้ถ่ายในตอนเช้าตรู่ของเดือนมีนาคม ฟ้าเพิ่งส่องสว่าง คนเก็บชาก็ขึ้นเขามาพร้อมเริ่มงานแล้ว ที่เมืองหางโจวไม่เพียงแต่เป็นต้นกำเนิดของชาเขียวหลงจิ่งของจีนเท่านั้น ยังเป็นพื้นที่ที่มีการที่บริโภคชาที่มากกลุ่มหนึ่งอีกด้วย ในบรรดาชาทั้งหมดชาหลงจิ่งถือว่าแพงที่สุดเพราะว่ามีจำนวนน้อย โดยเฉพาะชาหลงจิ่งที่เก็บก่อนเทศกาลเช้งเม้งถือว่าแพงที่สุด 


โดยปกติแล้วการให้ค่าแรงของคนเก็บชาจะคิดตามน้ำหนักใบชาที่เก็บได้ แต่เก็บชาหลงจิ่งจะให้ค่าแรงโดยนับจากจำนวนวันที่เก็บชา ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าในคุณภาพของใบชาที่ต้องเก็บทีละใบ ทีละใบ ชาวนาที่ทำไร่ชาบอกว่า “ถ้าให้ค่าแรงโดยคิดจากน้ำหนัก คนเก็บชาก็จะพยายามเก็บใบชาให้ได้จำนวนมากแต่ว่าไม่ได้มาตรฐาน ก่อนเช้งเม้งใบชาหลงจิ่งบริเวณทะเลสาบซีหูทุกใบล้วนมีราคาแพง จึงจำเป็นทำงานอย่างช้าๆและนุ่มนวลต่อทุกใบ”



ทุกปีจะมีช่วงเวลาให้คนเก็บชาทำงานสองเดือนกว่า คนเก็บชาส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยกลางคนในชนบทที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ งานของพวกเธอต้องก้มเอวลงเพื่อเก็บใบชาเป็นเวลานาน ไร่ชาบางแห่งอยู่บนเขาสูง พระอาทิตย์ขึ้นก็ออกไปทำงาน พระอาทิตย์ตกถึงได้พัก ดังนั้นจึงเหนื่อยมาก


เดือนเมษายน ที่หมู่บ้านชาวนาในเมืองหางโจว กลางดึกแล้วยังคง “ผัด” ชากันอยู่ ใบชาสดที่เก็บได้ในแต่ละวัน จำเป็นต้องผัดให้เสร็จในวันนั้น ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี ชาวนาต่างก็ทำงานทั้งกลางวันกลางคืนไม่หยุด ผู้หญิงรับงานออกไปเก็บใบชาตอนกลางวัน ผู้ชายรับผิดชอบผัดชาในตอนกลางคืน งานพวกนี้จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ยาวนานจนเกิดความชำนาญมาทำ ซึ่งคนรุ่นใหม่ไม่สนใจจะเรียนรู้ คนรุ่นเก่าที่มีประสบการณ์ต่างก็เริ่มอายุมากขึ้น กลายเป็นปัญหาที่ความรู้และทักษะพวกนี้ไม่มีคนอยากมาสืบต่อ (ภาษาจีนต้นฉบับใช้ศัพท์แปลตรงตัวว่า “ผัด” ค่ะ จึงเข้าใจว่ามีการใช้ความร้อนทำให้ใบชาสุกหอมจนได้ที่ –จขกท)


ใบชาหลงจิ่งที่ผ่านกระบวนการผัดแล้ว ฝ่ามือที่กร้านหนาและแผลเต็มมือเป็นมาตรฐานของคนทำชาหลงจิ่ง


ในภาพคือคุณลุงผู้เชี่ยวชาญทำชาซีหูหลงจิ่ง อายุเกือบ 60 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นคนดังในพื้นที่ ครอบครัวล้วนทำชาหลงจิ่งมาตลอด และในสารคดีเรื่อง “ชา, เรื่องของใบไม้หนึ่งใบ” ก็มีการถ่ายทำลุงขณะแนะนำชาหลงจิ่งด้วย


ต้นเดือนมีนาคม อากาศเริ่มอุ่น เจ้าของร้านชาในหางโจวเริ่มออกเดินทางไปยังภูเขาทางทิศใต้ ต้นชาเริ่มแตกหน่อ เธอเริ่มเข้ากระบวนการเสาะหาชาของปีใหม่อีกครั้ง ทุกปีมีเวลา 8 เดือนในการหาสุดยอดชาทั่วประเทศ เธอไปตามเมืองต่างๆ ใช้เวลาสิบกว่าปีในการเดินทางในจีน ไปตามไร่ชาซึ่งไม่สามารถนับเป็นจำนวนครั้งได้



ตั้งแต่ก่อนและหลังวันหยุดของเทศกาลเช้งเม้งจนถึงวันชาติจีน ต้องมีการควบคุมการจราจรที่มาหางโจวเพื่อชาหลงจิ่งโดยเฉพาะ



ภาพที่เห็นคือบ่อน้ำที่นักท่องเที่ยวมักถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ซึ่งไกด์จะเล่าให้ฟังว่าเป็นบ่อใช้ตักน้ำเมื่อนานมาแล้วในหมู่บ้านผลิตชาหลงจิ่ง ความจริงก็คือมีการขยายบ่อให้กว้างขึ้นจากเดิมเพื่อไว้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ยังไงก็ตาม ที่นี่ก็ยังเป็นหนึ่งในสถานที่ผลิตชาหลงจิ่งในระดับสูงอยู่ดี


เดือนเมษายน บนถนนสายธุรกิจที่หางโจว สาวพนักงานขายชาเชิญให้ลูกค้าลองชิมชาฟรีข้างถนน หางโจวไม่เหมือนกับเมืองฝูเจี้ยนหรืออันฮุยที่มีตลาดชาที่ขนาดใหญ่กว่า แต่ชาและผลิตภัณฑ์จากชา (ของหางโจว) ได้กระจายขายไปทั่วเมือง อย่างไรก็ตามชาก็มีวงจรของชา คนที่อยู่ในวงจรของชาก็ไม่เหมือนกัน ก็จะพบเจออะไรก็ไม่เหมือนกันไปด้วย



ที่หางโจวจะมีร้านน้ำชาแบบนี้ให้เห็นอยู่ทั่วไป บริกรร้านน้ำชาจะแต่งตัวนี้แบบนี้เพื่อเรียกลูกค้าและสาธิตการชงชาให้ดูด้วย




จากประวัติศาสตร์ หางโจวเคยมีงานเลี้ยงฉลองชาด้วย แต่ปัจจุบันงานเลี้ยงแบบนี้หาได้ยาก แต่ถ้าจะพูดถึงการใช้ใบชาเป็นส่วนประกอบของการทำอาหาร ก็ยังสามารถหากินได้ในภัตตาคารหลายแห่ง



พื้นที่บริเวณเจียงหนาน (ทางใต้ของแม่น้ำแยงซีรวมเมืองหางโจวและเมืองอื่นๆ ) มีอาหารหลายจานที่ใช้ชาเป็นส่วนประกอบ ภาพที่เห็นคือเครื่องบดชาแบบโบราณที่หาชมได้ยาก



ภาพที่เห็นคือสตูดิโอของผู้เชี่ยวชาญระดับอาจารย์ในการ “ผัด” ชาในร้านที่หางโจว คนจำนวนมากที่เดินผ่านต้องหยุดดู เจ้าของร้านถือว่าเป็นอีกคนที่คลั่งไคล้ในชา ทำร้านขนาด 60 เอเคอร์บนถนนสายนี้แล้วยังเช่าบ้านอีกหลัง เพื่อไว้ผัดชาโดยเฉพาะ เร็วๆ นี้เธอยังสร้างสรรค์วิธีใหม่ในการนำชาหลงจิ่งมาหมักให้เป็นชาแดงด้วย (ปกติหลงจิ่งคือชาเขียว)



คุณลุงในภาพกำลังมีความสุขในการดื่มชาที่ร้านน้ำชาเก่าแก่ ทุกวันลุงชอบมานั่งที่ร้านน้ำชาเก่าแก่อายุร้อยปีแห่งนี้ จิบชาสักแก้ว เติมน้ำตาลสักหน่อย ก็สามารถเล่นไพ่กับเพื่อนๆ ไปสนุกทั้งวัน เจ้าของร้านบอกว่าเปิดร้านน้ำชาไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์เรื่องเงินเป็นหลัก



สองสาวผู้รักแฟชั่นในภาพเป็นอีกประเภทของคนรักชา เจ้านายของเธอสองคนถือว่าเป็นผู้คลั่งไคล้ในชาอีกคน โดยทำร้านเสื้อผ้าตกแต่งให้คล้ายกับร้านน้ำชาเล็กๆ จากนั้นเที่ยวไปเสาะแสวงหาชาที่เด็ดๆ ทั่วโลกมา เวลาทำงานก็คือเวลาที่ทุกคนได้จิบชา จิบไปคุยไป ทำให้พนักงานในร้านทุกคนกลายเป็นคนรักชาไปด้วย



ทุกปีระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน นักธุรกิจที่หางโจวจะจัดกิจกรรม “งานเลี้ยงชา” เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว (จากภาพเป็นการแสดงในงานเลี้ยงชา-จขกท)



ภาพของพระที่วัดหย่งฝูในหางโจว ท่านได้กล่าวว่า “พระทุกวันต้องนั่งสมาธิตั้งแต่แสงส่องสว่างจนมืดค่ำ ง่ายมากที่จะง่วงนอน เพียงแค่ดื่มชาก็สามารถกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้ ดังนั้นการดื่มชาจึงได้กลายเป็นสิ่งงานอย่างหนึ่งของพระ”

จบแล้วค่ะ หวังว่าจะได้เปิดมุมมองของโลกที่มีต่อใบชานะคะ สำหรับจขกท.เองรู้จักใบชาแค่ตราสามม้าที่เคยกินตอนเล็กๆ ชื่อชาหรูๆ อย่างหลงจิ่ง ทิเอี๋ยกวนอิน ก็เคยได้ยินตอนไปเรียน แต่เอาเข้าจริงกินไปก็ไม่ค่อยรู้สึกเห็นความต่าง พอมาอ่านเจอบทความนี้เข้าเลยอยากแปลให้อ่านค่ะ เห็นว่ากว่าจะมาเป็นชาหรูๆ แพงๆ ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย เพิ่งเข้าใจว่าทำไมถึงแพง T_T 555

สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ตามต่อได้ที่ fan page จขกท.ที่ https://www.facebook.com/simplychinese
ขอบคุณมากค่ะ


No comments:

Post a Comment