Wednesday, July 29, 2015

豕 / 家 / 嫁 3 ตัวนี้มีอะไรเหมือนกัน? ใครนะว่าภาษาจีนยาก?

อย่างที่รู้กันว่าอักษรจีนเป็นอักษรภาพมาก่อน เว้ากันง่ายๆ คือเขียนอย่างที่ตาเห็น ดั้งเดิมคือเห็นอะไรก็เขียนลงไปโลด แล้วค่อยๆ ลดรูปไป เปลี่ยนแปลงไป (ก็ 5,000 ปีอ่ะนะ จะไม่เปลี่ยนแปลงเลยก็เป็นไปไม่ได้)  แต่อักษรบางตัวก็เพราะเปลี่ยนไปเยอะนี่เอง ทำให้บางทีเราลืมกันไปแล้วว่าทำไมดั้งเดิมถึงเขียนแบบนี้ 

วันนี้ลองมาดูความเชื่อมโยงของตัวอักษร 3 ตัวนี้กันค่ะ มั่นใจว่าคนเรียนภาษาจีนต้องรู้จักดีแน่ๆ


 豕 / 家 / 嫁 


สังเกตเห็นไหมป่าวคะว่าทุกตัวมีตัว 豕 ที่แปลว่า "หมู" อยู่ข้างในเหมือนกัน คราวนี้ลองมาดูความหมายทีละตัวว่าเกี่ยวอะไรกะหมูนะ


เริ่มแรกที่ตัวนี้เลย 豕 [shǐ]  = หมู ให้สังเกตว่าหัวหมูคือเส้นขีดนี้ 一 ด้านซ้ายคือพุงหมูและขาหมูอีก4ขา ส่วนเส้นด้านขวาสองเส้นคือหางหมู คำว่า豕 ปัจจุบันเหลือใช้เพียงภาษาในนิยายหรือวรรณกรรมเท่านั้น ในชีวิตประจำวันเราเรียกหมูในภาษาจีนว่า 猪 [zhū]  แทนค่ะ 




ภาพจาก http://www.digmandarin.com/


คำที่สอง 家 [jiā]  = บ้าน สังเกตให้ดีคำนี้คือเอาคำว่า “豕” (หมู) มาใส่หลังคา 宀  

ที่มาของคำนี้เพราะคนสมัยก่อนชอบเลี้ยงหมูอยู่ในบ้านหรือบริเวณบ้าน เวลาเรากินเหลือก็ให้มันกินเศษอาหาร พอมันโตเราก็กินมัน (โหดม่ะ) คนสมัยก่อนเลยเขียนอักษรภาพเป็นรูปหลังคาที่มีหมูอยู่ข้างใน แทนความหมายว่า "บ้าน" ค่ะ

ตัวอักษรจะชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับจีนกลางแบบตัวเต็ม ที่เขียนคำว่าบ้านว่าแบบนี้ค่ะ “傢” [jiā]  ให้สังเกตซ้ายมือมีคำว่า 亻= คนด้วย ดังนั้น
สถานที่ที่มีคน มีหมู และมีหลังคาครอบข้างบน คือคำจำกัดความของคำว่า “บ้าน” ในสมัยก่อนค่า

คำสุดท้าย 嫁 [jià]  = แต่งงาน (เป็นกริยาใช้สำหรับผู้ชายขอแต่งงานผู้หญิงเท่านั้นน้า) 你愿意嫁给我吗? (Nǐ yuànyì jià gěi wǒ ma?)  = ยินดีจะแต่งงานกับผมไหม (ใครมาพูดประโยคนี้กะเรา ให้เร่งตอบโดยพลันว่า 我愿意。(Wǒ yuànyì.) = I do อร๊าายยย ท่องไว้นะคะ ^^)

ภาพจาก tconvey.com

คำเนี้ยน่าสนใจตรงที่เมื่อเราเติม 女 = ผู้หญิง ไว้ข้างหน้าบ้าน จึงหมายถึงการขอผู้หญิงสักคนมาอยู่ที่บ้านด้วยกัน (เพราะตัวอักษรประกอบด้วย บ้านที่มีหลังคา มีหมูอยู่ข้างในและมีผู้หญิงอยู่ด้วย) ซึ่งคือการขอแต่งงานนั่นเองงงงง

เทคนิคการจำคำแบบนี้ช่วยให้เราไม่เบื่อเวลาคัดและจำได้ง่ายขึ้นด้วยน้า


ตัวจีนไม่ยากอย่างที่คิดเนาะ^^

ป.ล. 
สุ่ยหลินอยากนำเสนอว่าภาษาจีนไม่ยากอย่างที่คิดน้า เราเคยคุยกันเรื่องแฝดจีน 3 ตัวคือเอาอักษรหน้าตาเหมือนกันมาซ้อนกัน 3ตัว กลายเป็นคำใหม่ที่อิงความหมายของคำเดิม ใครสนใจก็จงไปที่ลิงค์นี้จ้า 
http://chinesexpert.blogspot.com/2015/07/blog-post.html 

สุ่ยหลิน^^

Monday, July 27, 2015

左 右 ซ้ายหรือขวา โอ่ยย งง จะจำยังไงอ่ะ?

สุ่ยหลินตอนเรียนภาษาจีนใหม่ๆ โคตะระงงกับคำว่าซ้าย-ขวาในภาษาจีนมากๆ เขียนก็ดันคล้ายกันซะอีก เวลานั่งแท็กซี่แล้วจะบอกคนขับรถให้เลี้ยวซ้ายหรือขวา จะต้องกลั้นใจตั้งสติก่อนบอก ไม่งั้นจะบอกผิดอยู่เรื่อย คนขับจะจี๊ดเอาได้

วันนี้มาดูเทคนิคการจำ 左/右 ดีกว่า เรียนรู้ที่มาที่ไปของตัวอักษรทั้งสองตัวนี้กัน จะได้จำกันแน่นจำกันนาน เรียกว่าจำได้ยันลูกบวชเลยทีเดียวเชียว อิ อิ


ภาพจาก maoavian.pixnet.net


เริ่มจาก 左 (zuǒ) ก่อน 左 = ซ้าย สังเกตอักษรตัวนี้นะคะ ดั้งเดิมเลยอักษรภาพ 2 ตัวเนี้ยประกอบกัน




ตัวแรกคือ "มือ" ค่ะซึ่งต่อมาก็พัฒนามาเป็นขีดสองขีด ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 𠂇 (โดยไม่บอกกล่าวใคร! ฮ่วย!) 

ส่วนตัวที่สอง 工 (gōng) ซึ่งความหมายดั้งเดิมคือ "ไม้บรรทัด" ของช่างไม้ เมื่อเอามือนั้นไปจับ “ไม้บรรทัด” มือนั้นควรจะเป็นมือซ้ายใช่ป่าว เพราะมือขวามีไว้สำหรับขีดเส้นให้ถนัด 左 จึงมีความหมายว่า “ซ้าย” ค่าา จำง่ายขึ้นไหม๊

มีซ้ายแล้วก็ต้องมีขวานะ 右 (yòu) = ขวา คำนี้เกิดจากอักษรภาพ 2 ตัวประกอบกันเหมือนกันนะ ดูภาพเรย 



ตัวแรกก็พอจะเดาได้ซึ่งก็คือ "มือ" เหมือนคำว่าซ้ายนั่นเอง
ตัวที่สองก็น่าจะคุ้นๆกันนะคะ เพราะว่ามันคือ 口(kǒu) ซึ่งแปลว่า "ปาก" 

หลายคนจะงงว่า แล้ว มือ+ปาก = ขวาเร๊อะ?! ตรรกะไหนฟร่ะ ?


เฉลยจ้า มาดูกันค่ะว่าที่เดาไว้ถูกไหม (ไม่ต้องซีเรียสน้า ว่าเราเดาจะถูก ตรงตามความเป็นมาดั้งเดิมไหม๊ หากว่าเราจำวิธีที่เราคิดเองง่ายกว่าก็จำวิธีนั้นก็ได้ เพราะจุดประสงค์คือจำความหมายได้ ก็จบข่าวนะ)

ที่มาของ 右 คือ มือ + ปาก เพราะเค้าหมายถึงเอา “มือ” จับหรือคีบอาหารเข้า “ปาก” ซึ่งมือที่จับอาหารหรือคีบอาหารเข้าปากส่วนมากจะเป็นข้างที่ถนัดซึ่งก็คือมือขวา (ใครถนัดซ้ายก็ถือว่าเอาเสียงส่วนใหญ่นะ)  右 จึงมีความหมายว่า “ขวา” เป็นจะอี้แล

นอกจากนี้นะคะ คนจีนยังเอา 左右 (zuǒ yòu) มารวมกันเป็นความหมายใหม่ด้วย โดยมีความหมายว่า “ประมาณเอา หรือกะๆ เอา” ก็ได้เพราะมองซ้ายมองขวาแล้วไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่กันแน่

เช่น เธอว่าเขาอายุเท่าไหร่กันแน่ ตอบได้ว่า 二十岁左右。(èr shí suì zuǒ yòu)  = กะๆ เอาก็น่าจะสัก 20 มั๊ง

อย่างสุ่ยหลินเนี่ยใครเห็นก้อพูดประโยคข้างบนล่ะ 二十岁左右! อุ๊ย! อายอวยตัวเองอ่ะ 

คราวนี้ไม่ต้องตั้งสติก่อนบอกซ้ายขวาแล้วนะคะ ลุยโลด!!!!


สุ่ยหลิน
^^

Thursday, July 23, 2015

4 อันดับคำด่าโดยใช้ "สี"

นอกจากใช้ "ไข่" มาเป็นคำด่าในภาษาจีนแล้ว คนจีนยังใช้ "สี" มาเป็นส่วนหนึ่งของคำด่าได้ด้วยล่ะ
(ใครจำ 4 อันดับคำด่าด้วยไข่ ได้มั่งคะ ถ้าจำม่ะได้ จัดลิงค์นี้เรยน้า http://chinesexpert.blogspot.com/2015/07/4.html ) 

คำด่าบางอันมีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ พอเรารู้ background แล้ว เวลาได้ยินคำพวกนี้ เราก็จะได้เข้าใจ จำแม่นว่าเค้าด่าด้วยล่ะ ><'

และก็เหมือนเดิมค่ะว่าตัวเลขที่อยู่ข้างหลังคือความรุนแรงของความเจ็บ (เวลาโดนด่า) ซึ่งเต็ม 5 นะคะ

มาติดตามค่าาา

อันดับที่ 1 绿帽子 (lǜ mào zi) แปลตรงตัวว่า "สวมหมวกเขียว" แปลแบบเวลาโดนด่าว่า "โดนสวมเขา" (ใช้กะผู้ชาย) คะแนนความเจ็บ 3/5




แล้วทำไมสวมหมวกเขียวถึงเกี่ยวกะชู้ได้นะ?

เค้ามีเรื่องเล่ามาว่า สมัยโบราณนู้นมีผู้หญิงคนหนึ่งแอบมีชู้กะคนในหมู่บ้าน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ส่งสัญญาณกับชายชู้ เธอก็ให้สามีสวมหมวกสีเขียวเวลาออกจากบ้านไปต่างเมืองไกลๆ ชายชู้ก็จะได้รู้ว่าสามีตัวจริงเค้าไม่อยู่ แอบแว่บมาหาเธอได้ ชาวบ้านทั่วไปเห็นก็จะพูดว่า 他的老婆给他带绿帽子了。(tā de lǎopó gěi tā dài lǜmàozile.) เมียเขาสวมหมวกเขียวให้ซะแล้ว แปลได้ว่า ผู้ชายอ่ะโดนสวมเขา (อีกแระ)

ดังนั้น โดยทั่วไปผู้ชายจีนจะไม่สวมหมวกสีเขียวกันค่า เดวจะโดนล้อ รู้อย่างนี้แล้วอย่าไปซื้อหมวกสีเขียวฝากพวกผู้ชายจีนเชียวนา


อันดับที่ 2 黄脸婆 (huáng liǎn pó) แปลตรงตัวว่า "หญิงแก่หน้าเหลือง" เป็นคำด่าหมายถึงผู้หญิงที่ไม่น่าสนใจ หรือแก่แล้ว แล้วก็ไม่สวยแล้ว


ภาพจาก http://youfuweiye.com/

เดาว่าที่มาของเรื่องที่ใช้คำนี้ เพราะว่าเครื่องสำอางในสมัยก่อนมีตะกั่วปนเยอะ ใช้ไปๆ บ่อยๆ ก็ทำลายผิวทำให้หน้าเป็นรอยคราบเหลืองๆ (จากตะกั่ว) คะแนนความเจ็บของคำด่านี้อยู่ที่  2.5/5


อันดับที่ 3 小白脸 (xiǎo bái liǎn) แปลตรงตัว "(หนุ่ม) หน้าขาว" แปลเป็นคำด่าประมาณภาษาไทยว่า "ไก่อ่อน" "อ่อนต่อโลก" ประมาณนี้ค่ะ


ภาพจาก https://freeweibo.com


นอกจากนี้ บางทีก็ใช้แสดงความรู้สึกของคนพูด เพื่อพูดถึงผู้ชายหนุ่มๆ หล่อๆ ที่ตกถังข้าวสารเป็นแฟนกับผู้หญิงสูงอายุที่รวยๆ ประมาณว่าเป็นแฟนเค้าเพราะหวังเงิน คะแนนความเจ็บสูงมาหน่อยที่ 3/5


อันดับที่ 4 白痴 (bái chī) แปลตรงตัวว่า "ไอ้โง่ขาว" หรือ "ปัญญาอ่อนขาว"


ภาพจากwww.zxhsd.com

คำว่า 痴 แปลได้ว่าโง่หรือปัญญาอ่อนค่ะ เมื่อเติมสีขาว (白)ไปข้างหน้าด้วย คือกลายเป็น  งี่เง่า ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเพราะความปัญญาอ่อนเต็มพิกัด โอ้ยๆ เจ็บๆ คะแนนความเจ็บสูงสุด 4/5 ค่าา

ตอนนี้แฟนๆ ของสุ่ยหลินก็เลยได้คำด่าไปเพียบเรย เห้ย ไม่ช่าย ได้เรียนรู้ภาษาจีนนอกตำราอีกเพรียบบบ แบบที่หาม่ะได้ในหนังสือเรียนน้า เพราะเหล่าซือไม่ยอมสอน (ฟังดูดีขึ้นม่ะ)

เรียนไว้รู้เนอะ ป่าวเรียนไว้ด่าใครซักกะหน่อย

สุ่ยหลิน^^


เครดิตเรื่อง https://www.yoyochinese.com


Wednesday, July 22, 2015

Photo Album: โลกของเราก่อน smartphone มาถึง เป็นยังไงน้า?

หลังจาก smartphone บุกมาถึงชีวิตเราเมื่อ 4-5 ปีก่อน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสุ่ยหลินคิดว่าพวกเราทุกคนไม่มีใครขาดมันได้เลย ธ่อ..ชีวิต! ไม่รู้แต่ก่อนอยู่มาได้ไง ตอนนี้เป็นประหนึ่งอวัยวะที่ 33 เลยอ่ะนะ

หลายคนดูหน้าจอมากกว่าดูหน้าแฟนซะอีกแน่ะ วันๆ ก็ก้มๆ รูดๆจอ คุยกะเพื่อนในเฟสมากกว่าคุยกะเพื่อนที่นั่งข้างๆ นั่ง BTS แทบไม่เจอใครไม่ดูจอเลยว่างั้น

บางคนใช้ smartphone แทนอุปกรณ์เกือบทุกอย่าง (สุ่ยหลินคนหนึ่งล่ะ) เช่น เป็นนาฬิกาปลุก เป็นเครื่องคิดเลข เป็นกระดาษจดโน้ต เป็นกล้อง และอื่นๆ คุ้มเจงๆ

เลยนึกย้อนไปว่า เมื่อวันวานของมนุษย์โลกอย่างเราตอน smartphone ยังมาไม่ถึงเป็นยังไงนะ?

มาดูภาพชุดนี้ของจีนกันค่าา สุ่ยหลินเอามาฝาก เค้าเปรียบเทียบกิจกรรมของคนจีนก่อนและหลังมี smartphone  ว่าชีวิตต่างกันยังไง (ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ต่างกับชีวิตคนไทยก่อนและหลัง smartphone เหมือนกันนะ) โดยเค้าเอารูปมาเปรียบกันช็อตต่อช็อตค่ะ แล้วก็แบ่งออกเป็นหมวดๆ แต่ละเรื่องค่า^^

ปอลิง เพื่อเป็นการยัดเยียด เอ้ย ไม่ช่ายๆ เพื่อเป็นการได้เพิ่มพูนคำศัพท์ของทุกคน สุ่ยหลินเลยใส่ศัพท์จีนที่เกี่ยวข้องกับรูปลงไปด้วยนะคะ ถึงแม้ว่ารูปจะเก่า แต่ศัพท์ทันสมัยเสมอ ยังใช้ได้อยู่ถึงปัจจุบันค่ะ

Credit: http://slide.fj.sina.com.cn/fashion/slide_16_40643_196500.html/d/8#p=18


วัฒนธรรมบนโต๊ะอาหาร
รูปบน: บรรยากาศกินหม้อร้อนในร้านอาหาร พูดคุยเฮฮาออกรสชาติ (ปี 1957)
รูปล่าง: วัยรุ่นกำลังกินปลาย่างและต่างคนต่างก้มหน้า (เดวปลาก็ไหม้หมดหร้อก!)

火锅 [huǒguō] = หม้อร้อน (สุกี้จีน)





ปฏิสัมพันธ์ตอนนั่งรถไฟ

รูปซ้าย: คนบนรถไฟใต้ดินสาย 2 (ปี 1984)
รูปขวา: คนบนรถไฟใต้ดินเหมือนกัน แต่แอคชั่นต่างกันลิบบ


智能手机 [zhìnéngshǒujī] = smartphone
低头族 [dītóuzú] = แปลตรงตัวว่า "เผ่าพันธ์ุก้มหน้า" หมายถึงสังคมปัจจุบันที่ทุกคนก้มหน้าก้มตาเล่น smartphone 





เล่นหลังเลิกเรียน

ซ้าย: นร.หญิงในเซี่ยงไฮ้เล่นกระโดดยาง (ปี 1974) (สุ่ยหลินเคยเล่นกิงก่องแก้ว ตอนเด็กๆ ไม่รู้เหมือนกันไหม?)
ขวา: เด็กชายในปักกิ่ง กำลังเล่นเกมส์บนทีวีระบบทัชสกรีน


触摸屏 [chùmōpíng]  = ทัชสกรีน





ถ่ายรูป

บน: เวลาจะถ่ายรูป สมัยก่อนต้องเข้าไปร้านถ่ายรูป ต้องรอล้าง อัดรูปก่อนกว่าจะได้เห็นภาพถ่าย ต้องไปลุ้นเอาว่าถ่ายออกมาดีป่าว หน้าเบี้ยวป่าว (ปี 1981)
ล่าง: สมัยนี้ถ่ายรูปง๊ายง่าย แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังเซลฟี่ได้ แถมยังเห็นภาพเลยด้วย ไม่สวยก็ถ่ายใหม่ได้ทันที

相片[xiàngpiàn]  = รูปภาพ, รูปถ่าย






ดูหนัง

บน: ชาวเสิ่นหยางมานั่งดูหนังกลางแปลงร่วมกัน (ปี 1994) 
สุ่ยหลินเคยดูหนังกลางแปลงเมื่อตอนเด็กๆ เหมือนกันค่ะ ยังทันนะ ยังทัน อายจุง
ล่าง: เด็กสามคนดูหนังผ่านไอแพดบนรถไฟ ดูฟินฝุดๆ เดี๋ยวนี้ดูหนังง่ายมว๊ากกก จะดูที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้

电影 [diànyǐng]  = หนัง, ภาพยนตร์






ยามว่างของคนแก่สมัยก่อน

บน: เมื่อก่อนคนแก่นิยมเล่นหมากรุก เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ได้ฝึกสมองด้วยล่ะ (ปี 1983)
ล่าง: เดี๋ยวนี้คนแก่ยังต้องปรับตัวให้ทันยุค ต้องไปเข้าเรียนการใช้ แทบเล็ท คอมพิวเตอร์ และมือถือ เดวเชย คุยกะหลานไม่รู้เรื่อง

闲暇[xiánxiá]  = ยามว่าง, เวลาว่าง





แลกเปลี่ยนนามบัตร

บน: เมื่อก่อน จะประชุมหรือค้าขาย แลกนามบัตรเป็นสิ่งสำมะคัญ (ปี 1992)
ล่าง: โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว! เดี๋ยวนี้มีช่องทางการติดต่อหลากหลาย ทั้งเบอร์โทร Line, wechat, instragram, facebook และต่อไปจะมีอีกหลาย app พัฒนาไปอีกเยอะะ

交换 [jiāohuàn] = แลกเปลี่ยน



ดูภาพเก่าๆ เปรียบเทียบกันแล้วเป็นไงมั่งบ้างคะ สุ่ยหลินว่าเทคโนโลยีนั้นดีแน่ๆ เพราะช่วยให้เรามีชีวิตสะดวกสบายขึ้น รวดเร็วทันใจขึ้น อะไรที่แต่ก่อนทำไม่ได้ ต้องช้าต้องรอ ก็มาเห็นกันอย่างทันใจในวันนี้แหละ

แต่ถ้าวันทั้งวันเราก้มหน้าก้มตารูดจอ เพื่อนไม่คุย พ่อแม่ไม่สน แฟนไม่แล แมวยังไม่มอง สุ่ยหลินว่าก็คงไม่ดีแน่ๆ เราน่าจะใช้โซเชี่ยลอย่างพอเหมาะ มีประโยชน์ (เช่น อ่านโพสของสุ่ยหลิน อิ อิ อายจังขายตรงๆ ><') แล้วแบ่งเวลาให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงของเราบ้างนะคะ พวกเค้ารอคุณอยู่น้า!

สุ่ยหลิน^^








Tuesday, July 21, 2015

ภาษาจีนมี Tense หรือป่าว? วันนี้มีเฉลยนะตะเอง

ตอนเด็กๆ สมัยที่เราเรียนหนังสือในโรงเรียน เวลาเรียนวิชาภาษาอังกฤษสุ่ยหลินมั่นใจว่าทุกคนจะต้องถูกบังคับให้จำเรื่อง Tense แน่นอน เราต้องจำว่า Past Tense ต้องเติม ed นะ (แต่ก็มีบางตัวไม่เติมแถมเปลี่ยนรูปอีกต่างหาก ฮ่วย!) Present Tense ต้องมีรูปกริยาผันตามประธานนะ  ส่วน  Future Tense ก้อต้องมี will เป็นกริยาช่วยนะ ยังไม่นับ Present Perfect, Perfect Continuous, Past Perfect และอีกต่างๆ นานา กรี๊ด...นี่สุ่ยหลินไม่อยากจะบอกว่าคืนครูหมดแหล่ว เฮ้อ T_T

ที่นี้มาถึงภาษาจีน เลยอยากถามว่าภาษาจีนมี Tense กันไหมน้อออ?

ถ้าตอบเลยตามหลักไวยากรณ์ ตอบได้ว่าภาษาจีนไม่มี Tense หรอกค่าา เพราะไม่มีการผันรูปกริยาเมื่อเหตุการณ์เกิดในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต  (กริยาตัวเดิมเด๊ะๆ ไม่เปลี่ยนรูป) แต่ถ้าไม่ได้พูดในแง่ไวยากรณ์ จะเรียกว่าภาษาจีนก็มี  Tense แบบอ้อมๆ ก็ได้ แต่ไม่ได้เกิดจากการผันกริยา แต่เกิดจากการเติมคำบางคำเพื่อบอกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิด หรือกำลังจะเกิดเหมือนกัน ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ต่างกับภาษาไทยเลยนะคะ เพราะภาษาไทยก็ไม่มีการผันรูปกริยาเหมือนกัน แต่ใช้วิธีเติมคำต่างๆ เข้าไปแทน เช่น  "แล้ว" "จะ"  "ยัง" "เสร็จ" เพื่อบอกสถานะของเหตุการณ์นั้นๆ

ถ้างั้นเรามารู้จักคำพวกนี้กันดีกว่าเพราะมีแค่ 5 ตัวเอ๊ง ซึ่งแค่ 5 ตัวเนี้ยก็เกือบครอบคลุมการบอก Tense ทั้งหมดในภาษาจีนล่ะ แถมที่สำคัญทั้ง 5 ตัวเนี่ย สุ่ยหลินมั่นใจว่าทุกคนรู้จักดีเป็นแน่แท้ๆ (ใครที่เรียนภาษาจีนมาแล้ว บอกไม่รู้จักซักตัวจะต้องโดนตีมือ)

คำที่ 1 了(le)


คำนี้เป็นคำครอบจักรวาลโลก (เว่อร์! จริงจริ๊ง) เพราะเห็นบ่อยมว๊ากกกในภาษาจีน 了 ในที่นี่ก็คือ "แล้ว" นั่นเอง บอกว่าทำอะไรแล้ว กินอะไรแล้ว ดูหนังแล้ว ฯลฯ ประมาณว่า Past Tense ในภาษาอังกฤษคงพอได้ แต่ภาษาจีนง่ายกว่าเย๊อะะ เพราะแค่เติม 了 ตัวเดียวก็จบข่าวค่าา ไม่ต้องวุ่นวายผันรูปกิริยาให้เปลืองสมอง อิ อิ 


เช่น 爸爸回来了。 (bàba huílái le)  = พ่อกลับมาแล้ว

我学了一年多中文。(wǒ xué le yī nián duō zhōngwén)  = ชั้นเรียนภาษาจีนมาปีกว่าแล้ว

หรือ.. บอกว่าเหตุการณ์มีการเปลี่ยนแปลงก็ได้นะ เช่น 下雨了。 (xiàyǔ le) = ฝนตกแล้ว (ก่อนหน้านี้ยังไม่ตก)



คำที่ 2 着  (Zhe)
คำว่า 着 มักอยู่หลังกริยา แปลได้ว่า "(กำลังทำ) อยู่" ค่ะ เป็นการเน้นว่ากริยานั้นยังดำเนินอยู่และยังไม่จบ เช่น 吃着 (Chīzhe) = กินอยู่ , 看着 (Kànzhe) = ดูอยู่ , 说着 (Shuōzhe) = พูดอยู่ ไม่ยากเลยใช่ป่าว :)


คำที่ 3 过 (Guò)
คำนี้สุ่ยหลินมั่นใจว่าต้องเคยเห็นกันแน่ๆ 过 ก็คือ "เคย" นั่นเองค่าา ใกล้เคียงกับ Perfect Tense ในภาษาอังกฤษนะสุ่ยหลินว่า วางไว้หลังกริยา 


เช่น 我去过中国 。(wǒ qù guò Zhōngguó) = ฉันเคยไปประเทศจีนมาแล้ว

บางทีใช้คู่กับ 了ก็ได้น้า เป็น กริยา + 过 + 了

เช่น 吃过了吗? (chī guò le ma?) = เคยกินมาก่อนละยัง
吃过了。(chī guò le) = เคยกินมาแร้วว


คำที่ 4 正在 (Zhèngzài)


คำนี้แอดวานซ์ขึ้นมาหน่อยนะมักวางอยู่หน้ากริยา แปลได้ว่า  "กำลัง" หรือ "กำลัง...พอดี" ค่ะ ใกล้เคียงกับ Continuous Tense ในภาษาอังกฤษค่ะ เช่น  我正在读书。(Wǒ zhèngzài dúshū) = ชั้นกำลังอ่านหนังสือ 

จริง ๆ คำว่า 正在  กะ 着 มีความใกล้เคียงกันค่ะ บางทีก็ใช้พร้อมๆ กันในประโยคเดียวกันด้วย ดูตัวอย่างประโยคพวกนี้ค่าา (สุ่ยหลินทำตัวเข้มไว้ให้เห็นนะคะ^^)

他吃着饭。(Tā chīzhe fàn) = เขาทานข้าวอยู่ 

他正在吃饭。(Tā zhèngzài chīfàn) = เขากำลังทานข้าวพอดี

他正在吃着饭。(Tā zhèngzài chīzhe fàn) = เขากำลังทานข้าวอยู่พอดี


คำที่ 5  要 (Yào)

ตัวสุดท้ายแต่ง่ายที่สุดเลยก็คือ 要 แปลได้ว่า "จะ" นั่นเองงงง วิธีการคือใช้ 要วางหน้ากิริยา เทียบได้กับ Future Tense ในภาษาอังกฤษเลยค่ะ 

เช่น 我明天要去银行。(Wǒ míngtiān yào qù yínháng) = ชั้นจะไปธนาคารพรุ่งนี้
她下午要请假。(Tā xiàwǔ yào qǐngjià) = บ่ายนี้เธอจะลาล่ะ เป็นต้น

คราวนี้เราก็ใช้กันได้อย่างง่ายๆ แล้วนะคะ เอาจริงๆ คือไม่ยากเท่าไหร่ใช่ไหม เพราะเหมือนๆ กับที่เราพูดภาษาไทยเลยน้า ไม่ครนามือเราหร๊อกแค่นี้เอ๊ง

สุ่ยหลิน^^


อ้างอิง http://resources.allsetlearning.com/chinese/grammar/%E8%BF%87






Thursday, July 16, 2015

12 คำอุทานที่เจอบ่อยๆ ในภาษาจีน

เสียงอุทานบอกอะไรเราน้า? 
เวลาเราแชทกะคนจีน หรือดูหนังจีน สังเกตไหมคะว่าเค้าก็ใช้คำอุทานบ่อยเหมือนกัน จริงๆ ก็ไม่ต่างอะไรกับภาษาไทยที่เราก็ต้องมี "อุ๊" "อ๊ะ" "เอ๊ะ" "เห้ย" "โอ้ย" "อ๊ากซซ์" "เจี๊ยกก" "อืม" ฯลฯ

ซึ่งจริงๆ คำอุทานพวกนี้ ก็บอกว่าคนพูดรู้สึกยังไง ตกใจ ประหลาดใจ เจ็บ งง หรือคิดอะไรยังไงอยู่นะคะ

ของจีนเค้าก็เหมือนกันเด๊ะกันค่า วันนี้เรามารู้จักคำอุทานกันดีกว่าเพราะเวลาแชทกะคนจีนแล้วเค้าตอบกลับมาคำเดียว สมมติว่า 哎 คำเดียวก็จบข่าว แต่ก่อนสุ่ยหลินล่ะงง ว่าเค้าหมายความว่าอะไรหว่า T_T

12 คำอุทานที่เจอบ่อยๆ ในภาษาจีน

คำที่ 1 啊 (ā) คำนี้เราเห็นกันบ่อยๆ เนอะ ทุกคนรู้จักกันดี ประมาณภาษาไทยว่า โอ้, โอ้โหห.. ความรู้สึกคนพูดประมาณว่าประหลาดใจหรือทึ่ง

คำที่ 2 哎 (āi) คำนี้ประมาณภาษาไทยว่า เฮ้, ฮ้า, อ้าว... ความรู้สึกประมาณว่าประหลาดใจเช่นกันค่ะ

คำที่ 3 哎呀 (āiyā) ก็ไอ๊หยานั่นเองในภาษาไทย เป็นความรู้สึกประหลาดใจแกมตกใจ ไอ๊หยา! ตกใจหมด ประมาณนี้


oops
ภาพจาก  http://huazhongwen.com/

คำที่ 4 哎哟 (āiyō) ใกล้เคียงกับ โอ้ย, อุ๊ย, หรือ อูย ก็ได้ เป็นความรู้สึกแบบเจ็บปวดค่ะ ต่อไปมีคนมาเหยียบเท้าเราก็พูดได้ว่า "ไอโยว" ดูเป็นคนจีนมากเลยอ่ะเรา 55

คำที่ 5 哈哈 (hāhā) เลียนเสียงหัวเราะในภาษาจีนก็คือ ฮ่าๆๆ นั่นเอง (ปอลิง เวลาพิมพ์อย่าพิมพ์ว่า 55 น้า เพราะคนจีนเค้ามองเสียง 55 ว่าใกล้เคียงกับเสียงร้องไห้กระซิกๆ เดวเรื่องตลกจะกลายเป็นเรื่องเศร้าไปซะงั้น)

ภาพจาก www.aitupian.com

คำที่ 6 唉 (āi) ใกล้เคียงกับคำว่า โธ่ ค่ะประมาณว่ารู้สึกสงสารหรือท้อแท้ บางครั้งใช้เป็นเสียงตอบรับค่า เช่นมีคนเรียกชื่อเราๆ ก็ขานรับได้ว่า 唉 ก้อได้ค่ะ ประมาณเดี๋ยวกับที่คนญี่ปุ่นขานรับว่า ไฮ่ น่ะค่ะ


คำที่ 7 嗯 (en) คำนี้เป็นคำตอบรับค่ะ ประมาณว่า ฮื่อ, อืม หรือ เออก็ได้

คำที่ 8 咳 (hāi) แปลได้ว่า ว้าหรือโธ่ หรือจะโธ่เอ๋ยก็ได้ค่ะ แนวถอนใจอารมณ์ประมาณเสียดาย เช่นอุทานว่า "โธ่เอ๋ย ทำไมเธอถึงได้โง่หยังงี้" 咳! 你怎么这么蠢。(hāi! nǐ zěnme zhème chǔn)

คำที่ 9 嘿 (hēi) ก็คือ เฮ้ย! นั่นเองงง

คำที่ 10 哼 (hēng) ก็คือ ฮื้อ หรือ ฮึ อารมณ์ไม่พอใจหรือสงสัยเคลือบแคลงนะ


ภาพจาก http://xqimg.imedao.com/

คำที่ 11 喂 (wèi) อันนี้สุ่ยหลินได้ยินคนจีนใช้บ่อยๆ เวลาจะเรียกใครให้หันมา แบบในหนังจีนเวลาจะมีเรื่องกันเรียกให้หันมา เค้าจะตะโกนว่า "เว่ย เว่ย" คำนี้ล่ะค่ะ จุดประสงค์ในการเรียกใกล้เคียงกับข้อ 9 คือเรียกให้รู้ตัวค่าา

คำที่ 12 咦 (Yí) คำนี้แสดงความประหลาดใจ สงสัยค่ะ ใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า เอ๊ะ ค่ะ


ภาพจาก www.bookrep.com.tw



ที่นี่เราแชทได้คล่องแคล่ว ดูหนังรู้เรื่อง แสดงอารมณ์ได้เต็มเปี่ยมสมเป็นผู้กำลังศึกษาภาษาจีนค่าาา 哈哈

สุ่ยหลิน^^

---------------------
ตอนนี้สุ่ยหลินมี Line@ แล้วน้าาาา

Add QR Code ข้างล่างหรือ Line ID: @qjk9935q "สุ่ยหลิน เรียนจีน" นะค้าา ถ้า add ไปเจอรูปผู้หญิงหน้าหมวยๆ ล่ะก็ มาถูกล่ะ ถ้าไม่ใช่ ผิดอันนะตะเองงง

ใครอยากเรียนภาษาจีนแบบฮาๆ ตลกๆ จีนนอกตำรา Add กันเยอะๆ นะคะ^^ สุ่ยหลินสัญญาว่าจะอัพเดทเรื่องภาษาจีน เรียนจีนแบบนอกตำรา จะอัพกันบ่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างนึงเลยล่ะ

สุ่ยหลินคอยอยู่นะคะ จัดมาด่วนๆ จ้า^^^


ปอลิง ถ้าใน message เนื้อหาไม่ขึ้น อย่าลืมดู Home หรือ Timeline ของ @สุ่ยหลิน เรียนจีนด้วยน้า^^ เย่ๆๆ เราจะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นแร้ววว (ลืมถามแฟนเพจว่าอยากใกล้ชิดอ่ะป่าว ><')





Wednesday, July 15, 2015

หมอแผนจีนคืออะไรนะ?

เดวนี้แพทย์ทางเลือกกำลังฮิตนะคะ ทำให้กระแสของหมอแผนจีนอินเทรนด์ขึ้นมาด้วย
เลยมีคนสงสัยว่าหมอแผนจีนคืออะไรนะ? ตอนแรกเข้าใจกันว่าหมอแผนจีนก็คือการฝังเข็มกะกินยาหม้อจีนต้มๆ ไง แต่จริงๆ แล้วมีมากกว่านั้นค่า

เดวสุ่ยหลินจะเล่าให้ฟังนะคะ

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเรื่องความเชื่อของหมอแผนจีน ซึ่งแตกต่างกะหมอฝรั่งกันก่อนค่ะ

คนจีนเชื่อว่าหมอแผนจีนนั้นเป็นการรักษาสุขภาพของร่างกายให้ดีขึ้นแบบภาพรวม ในขณะที่หมอฝรั่งนั้นมุ่งรักษาโดยวิธีฆ่าเชื้อโรคในร่างกาย ซึ่งบางครั้งฆ่าๆ ไปเชื้อโรคไม่ตาย กลับแข็งแรงกว่าเก่าก็มี แต่การรักษาแบบจีนนั้นบอกว่า ถ้าร่างกายเราแข็งแรงขึ้นเมื่อใด เชื้อโรคก็จะอ่อนแอซี้แหง๋ไปเอง ว่ากันง่ายๆ มุ่งรักษากันคนละด้านอ่ะค่ะ

แต่ปัจจุบันหมอแผนจีนในเมืองจีนต้องเรียนตำรายาฝรั่งตะวันตกควบคู่ไปด้วย โรงพยาบาลในเมืองจีนเกือบทุกโรงพยาบาลใช้คำว่า 中西医结合治病 (Zhōng Xīyījiéhé zhìbìng) = แปลว่าให้บริการรักษาทั้งหมอแผนจีนและแผนตะวันตก คือ การรักษาด้วยแพทย์แผนบุรณาการ(แพทย์ผสมผสาน) การใช้ผลการตรวจของแพทย์ปัจจุบัน และการรักษาดวยการวินิจฉัยโรคแบบแพทย์จีน ให้ยาแบบทั้งแพทย์ตะวันตกและแพทย์จีนผสมผสานเข้าด้วยกัน

จุดเด่นของหมอแผนจีนก็คือ ไม่เจาะ ไม่ดูด ไม่ตรวจหาผลแล็ป ไม่ตรวจเลือด ฯลฯ แต่จะใช้วิธีดูจากสีหน้าตาท่าทาง (เช่น ดูใต้ตาว่าซีดไหม ดูริมฝีปากว่าแดงธรรมชาติไหม) จับแมะหรือจับชีพจร ดูอาการ ฟังและพูดคุยกับคนไข้แล้วรักษาค่ะ

นอกจากฝังเข็มแล้ว หมอแผนจีนยังมีแนวทางการรักษาอื่นๆ อีกนะคะ เรามารู้จักคำศัพท์กันหน่อยดีกว่าเนอะ^^


ภาพจาก zhenjiu.abang.com

• 针灸 (zhēnjiǔ) = รักษาโดยใช้วิธีฝังเข็ม (เจิน = เข็ม)
• 扎针 (zhāzhēn) = ฝังเข็ม (กริยา) คนจีนเชื่อว่าการฝังเข็มที่ดีคือหมอเก่ง สามารถฝังถึงบริเวณที่ต้องการได้ถึงระดับเซลล์เลยทีเดียว (โอ้โห!) เป้าหมายเพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์นั้นให้ดีขึ้น เข็มที่ใช้ทั้งหมดทำมาจากเงิน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

• 摸脉 (mōmài) = การจับชีพจร (อารมณ์หมอแมะในหนังจีน)


ภาพจาก www.mlhsqyy.com
• 推拿 (tuīná) = การนวดแบบแพทย์จีน จับเส้นประสาทให้เลือดหมุนเวียนไหลตลอด ให้ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่ชาหรือไม่เมื่อยค่ะ (สุ่ยหลินเคยนวดแระ ไม่สบายเหมือนนวดแผนไทยนะ ประมาณว่านวดเพื่อรักษา เจ็บบมากกว่าค่ะ T_T)



ภาพจาก http://www.ejtchina.com/

ส่วนยาจีนเรียกว่า 中药 (zhōngyào) โลด ตามตัวเลยค่ะหมายถึงยาจีนประเภทใบไม้ รากไม้ กิ่งไม้หรือเปลือกสัตว์ต่างๆ หนังกิ้งกือ ม้าน้ำตากแห้ง ตุ๊กแกแห้ง ประมาณนี้ ><' ชั่งรวมกันห่อกระดาษแล้วเอาไปต้ม

และเดี๋ยวนี้เค้าพัฒนาไปอีกขั้น มีศัพท์ใหม่ใช้คำว่า 中成药(zhōngchéngyào) หมายถึงยาจีนที่ผ่านกระบวนการให้กินได้ทันที หรือกินได้ง่ายขึ้น เช่น เอายาจีนไปต้มให้เสร็จ แล้วบรรจุใส่ถุงซีล หรือแบบแคปซูลให้กินง่ายพกพาสะดวกแบบนี้ค่ะ เพราะใครจะเอาหม้อไปต้มเคี่ยวได้ทุกๆ ครั้งก็อาจไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่

ภาพจาก http://p.lnwfile.com/

แต่ก็ยังมีคนอีกเยอะะะะ เชื่อยาแบบเดิมดีกว่า เพราะเชื่อว่า中成药 นั้นจะต้องมีการผ่านกระบวนการต่างๆ มีสารต่างๆ เข้ามาปะปน ทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

คราวนี้ไม่มีปัญหาเรื่องหมอแผนจีนคืออะไรอีกแร้ววนะคะ เฮ่!

สุ่ยหลิน^^

Tuesday, July 14, 2015

多音字 : 谁 (shéi) (เสย) VS (shuí) (สุย) ตกลงอ่านว่าอะไรกันแน่?

ในภาษาจีนจะมีคำชวนงง อยู่ประเภทหนึ่ง (จริงๆ มีหลายประเภทแต่ไม่บอกตอนนี้ เดวแฟนเพจตกใจไม่ยอมเรียน ฮี่ ฮี่ๆ) คือคำเดียวกันเขียนเหมือนกันเด๊ะๆ แต่ออกเสียงได้มากกว่า 1 แบบ

คำแบบนี้ภาษาจีนเรียกว่า 多音字(duō yīn zì) หรืออักษรหลายเสียงค่าา (ในภาษาจีนมีอยู่ประมาณ 400 ตัว ไม่น้อยน้า)

แล้วจะแยกยังไงล่ะ ไม่งงแย่เร๊อะ!

สุ่ยหลินจะเฉลย ณ บัดนาวค่า โดยปกติ 多音字 ที่ออกเสียงได้มากกว่า 1 แบบจะแตกต่างกันเพราะเหตุผลดังนี้

1. ภาษาทางการ/ไม่เป็นทางการ
2. แตกต่างกันที่ความหมาย 


( อธิบายเพิ่มเล็กน้อยถึงปานกลาง คือแบบที่ 1 เขียนเหมือนกันเด๊ะๆ แต่อ่านไม่เหมือนกัน แต่สุดท้ายความหมายก็เหมือนกัน กะแบบที่ 2 เขียนเหมือนกันเด๊ะๆ แต่อ่านไม่เหมือนกัน ความหมายก็เลยพลอยไม่เหมือนด้วย--อย่าเพิ่งงงน้า)

คือมันต้องต่างกันสักอย่างอ่ะค่ะ ไม่งั้นเค้าจะเรียกให้แตกต่างกันทำไมเนอะ

มาดูตัวอย่างคำ 多音字 ที่เจอกันบ่อย ๆ ดีกว่า มั่นใจเจอกันคราวหน้าไม่งงแร้วว


多音字 แบบที่ 1

• 谁 = ใคร ถ้าอ่านว่า (shéi) (เสย) ใช้กับภาษาพูด ถ้าอ่านว่า (shuí) (สุย) นิยมใช้กับภาษาเขียน

อันนี้แตกต่างกันที่ทางการกะไม่ทางการ แต่สรุปจากประสบการณ์ตรงของสุ่ยหลินจะเผลอพูด (เสย) หรือ (สุย) ก็ไม่มีปัญหาค่ะ คนจีนเค้าก็ฟังออก เพียงแต่ให้เรารู้ไว้ว่ามันต่างกันเพราะหยั่งงี้

• 熟 = คุ้นเคย ถ้าอ่านว่า (shóu) (โสว) ใช้กับภาษาพูด แต่ถ้าอ่านว่า (shú) (สู) ใช้กับภาษาเขียน (เหตุผลเหมือนข้างบน)


多音字 แบบที่ 2

• 行 ถ้าออกเสียงว่า (xíng) (สิง) เป็นคำกริยาจะแปลว่าเดิน หากว่าเป็น adj จะแปลว่าโอเคนะคะๆ หรือแปลว่าสามารถ ก็ย่อมได้

แตถ้าออกเสียงหลุดแนวไปเลยว่า (háng) (หาง) จะมีความหมายได้ 2 อย่าง อย่างแรกเป็นลักษณะนามแปลว่าแถว ลำดับหรือตอน อย่างที่สองหมายถึงสถานที่ เช่น 银行 (yínháng) = ธนาคาร

• 还 ถ้าออกเสียงว่า (hái) (หาย) จะแปลว่ายังคงเหลือ แต่ถ้าออกเสียงว่า (หวน) จะแปลว่าคืนค่ะ อันนี้ต่างกันที่ความหมาย


อยากให้ดูการ์ตูนประกอบนะ

เป็นภาพการ์ตูนล้อระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทะเลาะกันในใบสัญญาแจ้งหนี้ 欠条 (qiàn tiáo) ว่าตกลงแล้ว “ยังเหลือต้องจ่ายอีก 35,000 หยวน” หรือ “คืนแล้ว 35,000 หยวน” กันแน่ ฝั่งลูกหนี้ (เสื้อเขียว) ก็บอกว่าคืนแล้วๆๆ เจ้าหนี้ (เสื้อฟ้า) ก็บอกว่า ยังเหลือๆๆ เป็นเช่นนี้แล





เห็นป่าวคะว่าคนจีนยังงง พูดผิดพูดถูก ก็เลยถึงต้องทำการ์ตูนมาล้อเรื่อง 多音字 คนไทยอย่างเราๆ ก็อย่าไปกลัวค่ะ อย่างมากก็แค่พูดผิดเท่านั้น พูดผิดก้อพูดใหม่ได้จ๊ะ

สุ่ยหลิน^^

ภาพจาก google

Monday, July 13, 2015

ชวนมารู้จักกะป้ายเมืองจีนกันค่า^^

สวัสดีค่ะหมู่เฮาชาวแฟนเพจสุ่ยหลิน คิดถึงจังนะคะ วันนี้สุ่ยหลินขอนำเสนอเรื่องที่ตัวเองอึดอัดมว๊ากกก (ไม่ใช่อ้วนนะ ><' เฮ่ย) เวลาไปเมืองจีนค่า นั่นก็คือเรื่องป้ายๆ ทั้งหลายนั่นเอง

ถามจริงว่าเวลาอ่านป้ายไม่ออกนี่อึดอัดกันป่าวคะ สุ่ยหลินล่ะก็อึดอัดมาก ครั้นจะหาอ่านคำแปลภาษาอังกฤษบางทีแปลแบบออกทะเลไปเลย ยิ่งอ่านคำแปลยิ่งไม่รู้เรื่อง ง่ายที่สุดคือเดาจากรูป แต่บางทีไม่มีรูป หรือไม่งั้นเดาไม่ออกอ่ะค่ะ

มาดูตัวอย่างข้างล่างนี้เลย


ป้ายนี้ภาษาจีนเค้าบอกให้คอยนอก(หลัง)เส้นห่างประมาณ 1เมตร ม่ะเกี่่ยวกะบะหมี่ (เกี๊ยว) น้า



ป้ายนี้เค้าว่าให้ดูลูกตัวเองให้ดีๆ บอกว่าให้ระวังตกน้ำ แต่ภาษาอังกฤษว่าให้ตกลงในน้ำอย่างระมัดระวังนะฮับ เฮือกก!


งั้นวันนี้เรามารู้จักเรื่องป้ายๆ กันนะคะ มีประโยชน์แน่นอน ไปเที่ยวก็ดี ไปเรียนก็ได้ค่ะ^^


ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ภาษาที่ใช้ในป้ายนั้น "ไม่ใช่" ภาษาที่ใช้พูดกันทั่วไปค่ะ เพราะว่าภาษาในป้ายเป็นภาษาทางการมากกว่า แล้วก็อีกอย่างพื้นที่ในการเขียนป้ายมีน้อย ดังนั้นต้องใช้ตัวอักษรน้อยๆ แต่สื่อความหมายมากๆ

ในป้ายที่เมืองจีนเนี่ยเค้ามีอยู่ 6 คำที่ใช้บ่อยๆ เรามารู้จักคำพวกนี้กันค่ะ ถ้ารู้ 6 คำนี้ก่อน ป้ายทั่วไปก็เดากันได้แล้วน้า จะได้ไม่เผลอหน้าแตกทำอาไลไป


คำที่ 1 勿 (wù)
勿 แปลว่า "อย่า" ค่ะ เราจะเจอคำนี้เยอะแยะเลยใช่ไหมในป้าย เพราะเค้าต้องห้ามเราทำนู่นนี่นั่นอยู่แล้ว ปรกติมักใช้คู่กับ 请 (qǐng) เพื่อให้ soft มาหน่อย แปลว่า "โปรดอย่า...."
เช่น



请勿吸烟 (qǐng wù xī yān) = โปรดอย่าสูบบุหรี่
请勿吐痰 (qǐng wù tǔtán) = โปรดอย่าขากเสลด (แต่ยังขากกก ฮ่วย!)

คำว่า 勿 ใกล้เคียงกับคำว่า 不要 (bú yào) หรือ 别 (bié) ในภาษาพูดนั่นเองค่ะ :)


คำที่ 2 无 (wú)
ออกเสียงใกล้กะคำแรกนะคะ (อู้/อู๋) คำนี้แปลว่า "ไม่มี" ที่เห็นบ่อยๆ เลยว่าเข้าห้องน้ำ ถ้าในห้องไม่มีคนใช้ขึ้นคำว่า 无人 (wú rén) และถ้ามีคนจะขึ้นว่า 有人 (yǒu rén) ค่ะ





อีกตัวอย่างนะคะ สมมติอ่านเจอป้ายว่า 无烟房 (wú yān fáng) = ก็จะหมายถึง non smoking room (ส่วนใหญ่เราเจอป้ายนี้ในโรงแรมค่ะ คือห้องพักแบบไม่สูบบุหรี่นั่นเอง)

คำว่า 无 ใกล้เคียงกับคำว่า 没有 (méi yǒu) นั่นเองงงง


คำที่ 3 处 (chù)
คำเป็นเวอร์ชั่นทางการของคำว่า "สถานที่" ค่ะ เห็นบ่อยๆ เลยก็ 售票处 (shòu piào chù) ที่ขายตั๋วไงค่ะ





คำว่า 处 ใกล้เคียงกับคำว่า 地方 (dì fang) ในภาษาพูดค่ะ


คำที่ 4 物 (wù)
物 แปลว่า "สิ่งของ" ค่ะ สังเกตนะว่าออกเสียงเหมือน 勿 (wù) คำที่ 1 เด๊ะๆ แต่เขียนไม่เหมือนกัน พูดง่ายคือยืมเสียงตัว 勿 มาใช้ออกเสียง แต่เติมตัว 牜 (วัว) ไปข้างหน้า

ดังนั้นเราจำได้ง่ายๆ เลยว่า 物 ที่แปลว่าสิ่งของต้องมี "วัว" (ซึ่งถือว่าเป็นของประเภทหนึ่ง) อยู่ข้างหน้าน้า ไม่งั้นไม่ใช่ของแท้ อิ อิ

เช่น 储物间 (chǔ wù jiān) = ห้องสโตร์เก็บของค่ะ

ถึงตรงนี้ก็คงพอเดาได้ว่า 物 มีคำหมายเท่ากับคำว่า 东西 (dōng xi) ที่เรารู้จักกันดีในภาษาพูดค่ะ^^


คำที่ 5 此 (cǐ)
此 หมายถึง "ตรงนี้" ค่ะ ถ้าเห็นป้ายที่มีคำว่า 此 เมื่อไหร่บอกเลยว่าเค้าต้องการให้เราทำอะไรๆ ตรงนี้ล่ะ ไม่ต้องไปไหนไกลนะจ๊ะ



เช่น
请在此排队 (qǐng zài cǐ pái duì) = โปรดต่อคิวตรงเนี้ยย

此处开门 (cǐ chù kāi mén) = เปิดประตูตรง (สถานที่) เนี้ยยย
จำ 处 ในข้อ 3 ได้ป่าวมาอยู่ตรงนี้อีกล่ะ

此 จึงมีความหมายแบบบ้านๆ ในภาษาพูดว่า 这个 (zhè ge) = อันนี้หรือตรงนี้ค่าา


คำที่ 6 สุดท้ายท้ายสุดล่ะค่ะ 本 (běn)
ถ้าเรารู้ที่มาของ 本 เราจะเดาได้ไม่ยากเลยนะ 本 ความหมายดั้งเดิมคือรากของต้นไม้ค่ะ ลองดูๆ ตัวอักษรดีๆ ว่าเหมือนมะ พอเวลาผ่านๆ ไป ความหมายของ 本 ก็แตกแขนงออกไปด้วยค่ะ กลายเป็นมีความหมายเพิ่มเติมว่า พื้นฐาน, เบสิค, ดั้งเดิม ซึ่งก็คล้ายๆ กับความหมายเดิม

ในเมื่อ 本 เป็นรากหรือเป็นสิ่งสำคัญของต้นไม้ จึงเอามาใช้กับคนเราด้วย ในความหมายว่าตัวตนของเราเองนะไม่ใช่ของคนอื่น เช่น 本人 (běnrén) = ก็คือข้าพเจ้านั่นเองค่ะ



ดังนั้น 本ในภาษาทางการ (และในป้าย) จึงหมายถึง "ของเรา" หรือ "ของพวกเรา" ก็ได้ เช่น 本店无发票 (běn diàn wú fā piào). = ร้านของเราไม่มีใบเสร็จ (ห้ามขอเด็ดขาดสิบอกให้)

ทั้งๆ ที่จริง 本 มีความหมายแบบบ้านๆ ง่ายๆ ว่า 我的 (wǒ de) หรือ 我们的 (wǒ men de) นั่นเองค่าาา

จะเห็นว่าภาษาจีนที่ว่ายากๆ ก็ยังยากอยู่ ไม่ช่าย สุ่ยหลินจะบอกว่าถ้าเราจับหลักบางอย่างได้ ที่เหลือก็สามารถไปเดาๆ กันได้ค่ะ

จบแล้วนะคะ ถ้าชอบบอกสุ่ยหลินด้วยน้า ถ้าไม่ชอบห้ามบอก เอ้ย ไม่ใช่ ถ้าไม่ชอบตรงไหนจะได้ปรับปรุงให้ถูกใจค่าาาา

本人先走。(běnrén xiān zǒu) = ข้าพเจ้าขอลาไปก่อน

สุ่ยหลิน^^

เรื่อง yoyo chinese

-----------------
ตอนนี้สุ่ยหลินมี Line@ แล้วน้าาาา

Add QR Code ข้างล่างหรือ Line ID: @qjk9935q "สุ่ยหลิน เรียนจีน" นะค้าา ถ้า add ไปเจอรูปผู้หญิงหน้าหมวยๆ ล่ะก็ มาถูกล่ะ ถ้าไม่ใช่ ผิดอันนะตะเองงง

ใครอยากเรียนภาษาจีนแบบฮาๆ ตลกๆ จีนนอกตำรา Add กันเยอะๆ นะคะ^^ สุ่ยหลินสัญญาว่าจะอัพเดทเรื่องภาษาจีน เรียนจีนแบบนอกตำรา จะอัพกันบ่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างนึงเลยล่ะ

สุ่ยหลินคอยอยู่นะคะ จัดมาด่วนๆ จ้า^^^


ปอลิง ถ้าใน message เนื้อหาไม่ขึ้น อย่าลืมดู Home หรือ Timeline ของ @สุ่ยหลิน เรียนจีนด้วยน้า^^ เย่ๆๆ เราจะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นแร้ววว (ลืมถามแฟนเพจว่าอยากใกล้ชิดอ่ะป่าว ><')


Thursday, July 9, 2015

รวมศัพท์รัก (爱VS 恋) (ài vs liàn) ไว้คุย ไว้จีบ ไว้อ้อนแฟนนน

มีเพื่อนเกาหลีเคยบอกสุ่ยหลินว่าวิธีเรียนภาษาจีนที่ดีที่สุดคือมีแฟนเป็นคนจีน!  เห้ยยย ภาษาจะไปเร็วแบบพรวดพราดก้าวกระโดดอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่าเร็วกว่าเรียนในห้องเรียน 3 เท่า!!

สุ่ยหลินนึกโมโหและเสียใจนัก ทำไมมาบอกตอนตรูจะกลับเมืองไทยว้าาา

กล่าวโดยสรุปสุ่ยหลินไม่ได้พิสูจน์วิธีนี้ เลยไม่สามารถการันตีผลได้ค่า T_T

เอาเถอะ ไม่ว่าจะยังไงก็ตามความรักทำให้เรามีความสุข พูดแล้วมันจะซู่ซ่า คึกคักไงม่ะรู้ กิ้วๆ

วันนี้ขอรวมศัพท์รักๆ จัดตามคำขอของแฟนเพจเป็นโพสเก่าที่เอามาเรียบเรียงใหม่ แต่มั่นใจยังใช้ประโยชน์ได้แน่ 

ศัพท์รักพวกนี้เราเจอบ่อยใช้ชีวิตประจำวัน ข้อดีนอกจากจะไว้ใช้กับคุณแฟนแล้ว ดูหนังจีนก็เข้าใจมากขึ้นด้วยค่ะ สาระกันล้วนๆ ไปเริ่มกันเลยค่า



ศัพท์เกี่ยวความรักในภาษาจีนมีอยู่ 2 ตัวที่เล่นบทบาทสำคัญเห็นบ่อยๆ นั่นคือ
爱 (ài)  = “รัก” 
恋 (liàn)  ก็เท่ากับ ”รัก” เหมือนกัน 

จึงมีศัพท์ว่า恋爱 (liàn’ài) หมายถึงรักหรือเป็นแฟนกัน หรือคบกันก็ได้ค่า บางทีก็ใช่คู่กัน บางทีก็แยกกัน มาดูคำที่ใช้กันบ่อยๆ นะคะ

1. 谈恋爱 (tán liàn' ài)  = กำลังปลูกต้นรักอยู่หรือกำลังเดทกันอยู่ก็ได้


เครดิตภาพ http://www.meimeidu.com/Article/Details/4866/0

เช่น 我现在跟他谈恋爱. (wǒ xiàn zài gēn tā tán liàn' ài)  = ตอนนี้ชั้นกับเขากำลังเดทกันอยู่จ๊ะ (เปลี่ยนเป็นผมกับเธอก็ได้)

2. 交往 (jiāo wǎng) = เป็นแฟนกัน จริงๆ แปลตรงตัวว่าติดต่อกัน ปฏิสัมพันธ์กัน แต่เอามาใช้ในเรื่องความรักด้วยค่ะ

3. 三角恋爱 (sān jiǎo liàn' ài)  = แปลตรงตัวเลยค่ะว่า “รักสามมุม” ซึ่้งก็คือ "รักสามเส้า" นั่นเองงง (角 คือมุม)

4. 第三者(dì sān zhě)  
เมื่อมีรักสามเส้าแล้วก็ต้องมีมือที่สาม คำนี้แปลว่า = มือที่สาม 
เครดิตภาพ http://www.hgjgs.net/content/?482.html

者 หมายถึง คนที่ทำอาชีพอะไรๆ เช่น 记者(jì zhě) คนที่ชอบจดชอบจำ คำนี้แปลว่านักข่าว 舞者(wǔ zhě) คือคนที่ชอบเต้น คำนี้จึงแปลว่าแดนเซอร์ค่าา

5. 暗恋 (àn liàn)  = หมายถึงรักแบบแอบซ่อน รักลับๆ 

暗 ตัวนี้หมายถึงเวลาโพล้เพล้ หรุบหรู่ จะมืดมิมืดแหล่ เหมือนกับรักที่ต้องเก็บอั้นๆ อึกๆ อักๆ ไว้ในอกจะสว่างก็ไม่แจ้ง จะมืดก็ไม่ชัด

6. 初恋 (chū liàn) (ชู เลี่ยน) =  แปลว่ารักแรก 初= เริ่มต้น รักที่เริ่มต้นจึงเป็นรักแรก



“甜过初恋” หวานกว่ารักแรก
เครดิตภาพ http://news.ifeng.com/


7. 一见钟情 (yí jiàn zhōng qíng) = แปลว่า love at the first sight หรือรักแรกพบ (一见 แปลตรงตัวว่าเห็นครั้งแรกส่วน 钟情 ก็หมายถึงตกหลุมรักค่ะ)

8. 爱上 (ài shàng) = ตกหลุมรัก 

เช่น 看到 ชัปปุยส์ 在比赛场, 我爱上了他. (kàn dào ชัปปุยส์ zài bǐ sài chǎng, wǒ ài shàng le tā) = เห็นหนุ่มชัปปุยส์อยู่ในสนามแข่ง ชั้นก็หลงรักเขาซะแล้ว (ตอนนู้นชัปปุยส์กำลังดัง ตอนนี้ต้องเปลี่ยนเป็นเจมส์จิ หนึ่งในทรวงแทน)

9. 网恋 (wǎng liàn)  = ความรักที่เกิดบนอินเตอร์เน็ต 




网 คืออินเตอร์เนท ความหมายเดิมคือตาข่าย สังเกตตัวอักษรเหมือนตาข่ายเป๊ะเลย ต่อมาเมื่อมีศัพท์คำว่า World Wide Web ที่เหมือนถึงเครือข่ายเชื่อมโลกเข้าด้วย จึงมีการยืมคำศัพท์ตาข่ายตัวนี้มาใช้แทนอินเตอร์เนทด้วยค่ะ เค้าคิดง่ายๆ เจ๋งม่ะคะ ใครว่าภาษาจีนซับซ้อนเนอะ

10. 真爱 (zhēn ài)  = แปลตรงตัวว่ารักแท้

ใครมีศัพท์อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรักมาแชร์กันได้เลยค่า จะได้รู้ศัพท์ใหม่ๆ ด้วยกันค่ะ^^

สารภาพว่าตอนแรกสุ่ยหลินจะเขียนหัวข้อว่า “ศัพท์รวมรัก” แต่กลัวแฟนเพจอ่านผิด จะกลายเป็น 18+ ซะนี่ กร๊ากกก...


เขียนศัพท์รักมันช่างคึกคักเป็นสีชมพู ฮู้ว ฮู (โหมดออกทะเล)

สุ่ยหลิน^^
ภาพจาก google แล้วเอามาเติมคำพูดเองค่ะ
---------------------
ตอนนี้สุ่ยหลินมี Line@ แล้วน้าาาา

Add QR Code ข้างล่างหรือ Line ID: @qjk9935q "สุ่ยหลิน เรียนจีน" นะค้าา ถ้า add ไปเจอรูปผู้หญิงหน้าหมวยๆ ล่ะก็ มาถูกล่ะ ถ้าไม่ใช่ ผิดอันนะตะเองงง

ใครอยากเรียนภาษาจีนแบบฮาๆ ตลกๆ จีนนอกตำรา Add กันเยอะๆ นะคะ^^ สุ่ยหลินสัญญาว่าจะอัพเดทเรื่องภาษาจีน เรียนจีนแบบนอกตำรา จะอัพกันบ่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างนึงเลยล่ะ

สุ่ยหลินคอยอยู่นะคะ จัดมาด่วนๆ จ้า^^^


ปอลิง ถ้าใน message เนื้อหาไม่ขึ้น อย่าลืมดู Home หรือ Timeline ของ @สุ่ยหลิน เรียนจีนด้วยน้า^^ เย่ๆๆ เราจะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นแร้ววว (ลืมถามแฟนเพจว่าอยากใกล้ชิดอ่ะป่าว ><')


Wednesday, July 8, 2015

可不是! คำนี้เป็นการตอบรับหรือปฏิเสธ?

可不是!
(kě bù shì) (เข่อ ปู๋ ซื่อ) ก่อนดูเฉลย แอบคิดในใจก่อนค่ะ คำนี้เป็นการตอบรับหรือปฏิเสธ....


เฉลย...

ตอบรับค่า แต่เป็นไรที่คนไทยงงม๊าก เพราะทำไมมีคำว่า 不 (ปู้) ที่แปลว่าไม่ แล้วแปลว่าตอบรับได้

可不是 เป็นสำนวนการตอบรับที่คนจีนชอบใช้ แปลว่า yes คือเห็นด้วยกับคนพูดพูดมา

A: 现在曼谷天气很好.跟住在欧洲一样. 

(xiàn zài màn gǔ tiān qì hěn hǎo. gēn zhù zài ōu zhōu yī yàng) 
= ตอนนี้อากาศที่กรุงเทพดี๊ดี หยั่งกะอยู่ยุโรปแน่ะ

B: 可不是!(kě bù shì)  = น่านน่ะสิ
อย่าลืมว่า可不是 เวลาเขียนควรจะต้องมีเครื่องหมายตกใจ ! ด้วยนะคะ เพราะเป็นการเน้นย้ำว่า “ก็ใช่น่ะสิ” “นั่นน่ะสิ”

แถมอีกนิด


(kě) (เข่อ) คำนี้เป็น prefix นิยมเติมหน้ากริยา เพื่อบอกว่า “น่าจะ, สามารถ, คุ้มค่าที่ทำ, ควรจะ”

可爱 (kě ài) (เข่อ อ้าย) สามารถรักได้ น่าจะรักได้ คุ้มค่าที่จะรัก可爱 จึงแปลว่า “น่ารัก”

可笑(kě xiào) (เข่อ เสี้ยว) สามารถหัวเราะได้ น่าจะหัวเราะได้ คุ้มค่าที่จะหัวเราะ可笑 จึงแปลว่า “ตลก”

可气(kě qì) (เข่อ ชี่) สามารถโกรธได้ น่าจะหงุดหงิดได้ ควรจะโกรธ可气 จึงแปลว่า “น่าหงุดหงิด”

可怕(kě pà) (เข่อ ผ้า) สามารถกลัวได้ น่าจะกลัวได้ ควรจะกลัว可怕 จึงแปลว่า “น่ากลัว”

วันหลังถ้าเจอศัพท์ไม่รู้ เราก็เดาศัพท์ได้จาก prefix 可 ตัวนี้ค่ะ
หวังว่าแฟนเพจคงตอบ (ในใจ) ว่า可不是!

สุ่ยหลิน^^

Tuesday, July 7, 2015

8 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับภาษาจีน

วันนี้สุ่ยหลินขอนำเหนอ บทความดีๆ อ่านแล้วโดนใจแม่ยก (สุ่ยหลิน) เรื่องความเชื่อผิ๊ด ผิด เกี่ยวกับการเรียนภาษาจีน มาดูกันดีกว่าทำไม๊ เราถึงเชื่อแบบนี้ (วะ ) ฮะ แล้วไอ้ความเชื่อแบบเนี้ย ไม่ช่วยเล้ยการพัฒนาภาษาจีนของเราต่อไป เรียกว่าพอตั้งท่าเชื่อ ต่อมภาษาก็ฝ่อซะแหล่ว มาดูกันเลยจ้า

1. จะเรียนภาษาจีนให้ได้ดี ต้องเรียนตั้งแต่เด็กเท่านั้น เรามันเรียนตอนโต (หรือแก่) จะไปสู้เค้าได้ไงฟร่ะ

ความจริง เด็กไม่ได้จำตัวอักษรจีนได้เร็วและง่ายอย่างที่คิดหรอกน้า มีงานวิจัยหลายงานเค้าบอกว่าในสภาพแวดล้อมเดียวกันผู้ใหญ่เรียนได้ดีกว่าด้วยล่ะ ถึงแม้ว่าจะมีคนค้านว่าสมองผู้ใหญ่ดีสู้เด็กไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่เนี่ยสามารถสร้างเป้าหมายในการเรียนได้ดีกว่าเด็กนะ เช่น ชั้นเรียนภาษาจีนเพื่อไปสมัครแอร์ ชั้นเรียนเพื่อไปเป็นล่าม ในขณะที่เด็กยังเล็กเกินกว่าจะมีเป้าหมายแบบนี้ค่ะ




ประสบการณ์จากสุ่ยหลิน ผู้ใหญ่เรียนภาษาที่สองเนี่ยจะมีคลังคำศัพท์ที่ดีกว่าเด็กค่ะ ทำให้เข้าใจอะไรได้ง่ายกว่า เช่น เรารู้จักคำว่า “บริการ” 服务(fúwù) และรู้จักคำว่า “หลังจากที่ขาย” 售后 (shòuhòu) ผู้ใหญ่ (อย่างเราๆ )ก็สามารถที่จะรวมคำได้ว่า อ้อ มันก็คือ 售后服务 “บริการหลังการขายนั่นเองงงง” ในขณะที่เด็กๆ เรียนภาษายังไม่เข้าใจ (แม้ในภาษาแม่ตัวเอง) ว่าบริการหลังการขายคืออาไล

2. ต้องความจำดีเท่านั้นถึงจะจำตัวเขียนได้ ชั้นยุ่ง เรื่องแยะ เรียนเยอะ งานเพียบ ลูกดก (เอ้ยไม่ใช่) จำไม่ไหวหร้อกก (อย่ามาคาดหวังชั้น)

ความจริง แน่นอนที่ซู้ดค่ะว่าความยากของภาษาจีนคือตัวเขียน แต่เราไม่ได้จำเป็นต้องจำทุกตัวหรอกนะ ปกติภาษาจีนจะแบ่งเป็นซ้าย-ขวาหรือบน-ล่าง ตัวซ้ายมักเป็นตัวแสดงความหมายและขวาไว้สำหรับออกเสียง ส่วนตัวบนมักเป็นตัวแสดงความหมาย ตัวล่างมักออกเสียง

ประสบการณ์จากสุ่ยหลิน จำพวกอักษรเดี่ยวที่แสดงความหมายไว้เถอะจะเกิดผล แน่นอนว่าคุณไม่สามารถอ่านออกได้ทุกตัวแต่สามารถเดาศัพท์ได้บ้างว่าเกี่ยวกับอะไร

เช่น ตระกูล 口 (ปาก) คำพวกนี้จะเกี่ยวกับปากทั้งหมดเลย ดูกันค่ะ 吃 (กิน) 吐 (อ้วก) 喝 (ดื่ม) 叫 (เรียก) 告 (บอก) 否 (ไม่, ปฏิเสธ เพราะต้องบอกว่า “ไม่” ใช่ป่าว)


เครดิตรูป https://wiki.ucl.ac.uk/display/Chinese/3Mouth+radical

ตระกูล 艸 (ใบไม้) สังเกตดูรูปเต็มเหมือนใบหญ้าไหมและลดรูปมาเหลือ艹 จะเกี่ยวกับต้นไม้ใบหญ้าทั้งหมดเลยนะ เช่น 茶 (ชา) 花 (ดอกไม้) 莲 (ดอกบัว) 苹 (แอปเปิ้ล)芒 (มะม่วง)


เครดิตรูป https://wiki.ucl.ac.uk/display/Chinese/3Grass+radical

นอกจากนี้ภาษาจีนก็ช่วยให้เรารวมคำได้เหมือนภาษาไทยด้วยนะ เช่น มาม่า เราเรียกว่า 方便面 (方便 = สะดวกสบาย) (面= บะหมี่) บะหมี่ที่กินแล้วสะดวกสบายก็คือมาม่าไง

3. ภาษาจีนออกเสียงยาก ไม่มีทางเลยที่ชั้นจะออกเสียงได้

สุ่ยหลินขอธงมาฟันเลยว่าเราออกเสียงง่ายกว่าคนชาติอื่นเรียนภาษาจีนมาก เสียงส่วนใหญ่เราสามารถเพราะภาษาไทยมีวรรณยุกต์ 5 แต่จีนมี 4 เราออกเสียงได้ชัดกว่าฝรั่ง เกาหลีและญี่ปุ่นมากค่ะ ยืดอกแล้วภูมิใจเข้าไว้

แต่มีเสียงเหล่านี้ที่เราไม่มีในภาษาไทยได้แก่ j q x s z c sh zh ch r ซึ่งพวกนี้ต้องฟังเหล่าซือพูดหรือฝึกการออกเสียงเอาจากในเวปก็ได้ เพราะไม่สามารถมีเสียงภาษาไทยเขียนคาราโอเกะได้ ซึ่งบอกได้เลยไม่ยากแร้ว
ดูในโพสนี้เกี่ยวกับ พินอิน เพิ่มเติมได้ค่ะ http://chinesexpert.blogspot.com/2015/06/blog-post_88.html

สู้ๆ นะตะเอง

4. ภาษาจีนมันช่างแตกต่างกับภาษาไทยของเราเหลือเกินจะเรียนยังไง (ว่ะ) ปวดกบาล

อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าภาษาจีนแตกต่างกับภาษาไทยและอังกฤษตรงที่ไม่ใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์มาสร้างคำ ดังนั้นต้องใช้ความพยายามมากหน่อยเป็นธรรมดา

งั้นถ้าเราเรียนภาษาที่ตระกูลเดียวกับภาษาไทยล่ะจะเป็นไง

คำตอบคือง่ายขึ้นเยอะค่ะ เช่น เราเรียนภาษาลาว เราก็ไม่ต้องมาปวดหัวนั่งจำ ก ข ค อะไรกันใหม่เพราะมีส่วนคล้ายๆ กัน เดากันได้ ก็เหมือนกับฝรั่งที่พูดภาษาอังกฤษและก็พูดฝรั่งเศส สเปน ได้ เพราะมันคือภาษาตระกูลเดียวกันไง

จึงไม่แปลกทำไมฝรั่งพูดได้4-5 ภาษาเพราะเหตุผลแบบนี้

ดังนั้น ถ้าเรารักแล้วศรีต้องอดทนหน่อยนะตัว อย่าลืมเราเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เล็กๆ ก็ยังเป็นภาษาคนละตระกูลกับไทยยังเรียนได้เลย เพิ่มอีกแขนง (สมอง) เป็นไรไป

ประสบการณ์จากสุ่ยหลิน ข้อดี (เดวจะมีคนถามว่ามีด้วยหรา) ภาษาจีนสำหรับคนไทยยากที่ตัวอักษรอย่างเดียว แต่ไวยากรณ์และการออกเสียงไม่ยากเลยค่ะ tense ก็ไม่มี คำนามระบุเพศชาย หญิงแบบภาษาเยอรมันก็ไม่มี ไม่มีการผันรูปตามประธานแบบภาษาฝรั่งเศสด้วย ถ้าเรียงประโยคผิดแต่ออกเสียงถูก คนจีนก็ยังเดาได้ (แต่ภาษาอังกฤษจะงงมากว่าตกลงเกิดขึ้นหรือยัง ตอนไหนหรือยังไม่เกิดหรืออะไรหว่า) สรุปมีข้อดีเย๊ออะ เรียนกันนะๆ

5. ต้องใช้เวลากี่ปี กว่าจะพูดได้อ่ะ (ต้อแต้ๆ)

ความจริง ถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ถูกก็พูดได้ล่ะจ้า ไม่ต้องห่วงเรื่องเรียงประโยคให้สวยงาม ฝึกออกเสียงให้ชัดสำคัญกว่าอันดับแรกนะเธอวว์

6. ตัวจีนเขียนไม่ได้อ่ะ ต้องจำ stroke order อีกก็จำไม่ไหว

ความจริง พิมพ์พินอินใน word ได้เลยนะ ถ้าตั้งใจเรียนไว้เพื่อสื่อสารเฉยๆ ไม่ต้องสอบ แค่เพิ่ม language bar แบบ chinese PRC เท่านั้นก็ใช้พิมพ์พินอินได้เลย

เครดิตรูป www.tofugu.com

ปอลิง แต่ถ้าต้องสอบเขียน ก็จำเป็นที่ต้องจำเพื่อคะแนนนะ แต่ใช้ชีวิตประจำวันจริงๆ คนจีนส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้ก็พิมพ์กันหมด สื่อสารกันได้ก็ถือว่าบรรลุแล้ว

7. ต้องไปเรียนเมืองจีนหรืออยู่เมืองจีนถึงเรียนภาษาจีนได้ เราอยู่เมืองไทยเรียนยังไงก็ไม่พัฒนา เลิกเหอะว่ะ

ประสบการณ์จากสุ่ยหลิน แน่นอนค่ะว่าการไปเรียนเมืองจีนช่วยเร่งสปีดภาษาให้เร็วขึ้น แต่อย่าลืมว่าเราก็ไม่ได้ไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองนอกด้วยเหมือนกันนะ โอกาสหรือจังหวะคนเราไม่เหมือนกัน ถ้ามัวแต่มาตั้งกำแพงว่าต้องไปเมืองนอกแล้วถึงพูดได้ ถ้าจังหวะและโอกาสไม่มีก็ไม่ต้องพูดได้เลยเหรอ งั้นทำไมเราเห็นช้างเผือกที่เค้าไม่เคยไปเรียนเมืองนอกแต่พูดอังกฤษปร๋อล่ะ ถ้าภาษาอังกฤษทำได้ก็ต้องไม่มีข้อยกเว้นสำหรับภาษาอื่นเหมือนกันสิ แต่คงต้องใช้ความพยายามมากหน่อย

สุ่ยหลินแนะนำ ดูละครจีนผ่านทาง youtube หรือ youku (优酷)ก็ได้ เลือกละครแบบที่ชอบ ดูบ่อยๆ วันละตอนจะรู้เรื่องเองเริ่มจากประสบการณ์และการเดาก่อน จากนั้นเราจะรู้ศัพท์มากขึ้น วิธีนี้ฟรี ไม่เหนื่อย และไม่เบื่อด้วย

8. เรียนทำไม๊ภาษาจีน แค่ภาษาอังกฤษยังไม่รอด คนจีนไม่มีมารยาทสังคม เราไม่เรียนภาษาจีนหรอก ชิ..ส์

จริงค่ะว่าภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาที่สำคัญต่อไป แต่หมุนไปมามองให้ทั่วโลก กูรูหลายสำนักฟันว่าภาษาจีนจะสำคัญตามมาต่อไปและต่อไปในอนาต เพราะจำนวนคนที่มากมายมหาศาลและเศรษฐกิจที่กำลังเจริญขึ้น หลังจากที่ทั่วโลกซบเซา ถึงแม้เรา (คนไทย) จะไม่อยากต้อนรับคนจีนเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจเมืองไทยเดี๋ยวนี้มีคนจีนเข้ามาเป็นลูกค้า มาใช้บริการในสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ภาษาจีนจะเป็นอุปสรรคถ้าเราสื่อสารกับเค้าไม่ได้ เราจะได้เงินจากเค้าได้ยังไงล่ะถูกไหม



เครดิตภาพ http://www.tatnews.org/wp-content/uploads/2014/08/Pattaya-4.jpg

ส่วนเรื่องมารยาทสังคมเราล้วนร้องยี้เนี่ย สุ่ยหลินก็เคยถามอ.คนจีนแบบคับข้องใจเหมือนกันว่าทำไมเค้าทำแบบนี้ ก็ได้คำตอบว่าคนจีนมีมหาศาล แต่ก่อนการศึกษาก็ไม่ทั่วถึงไม่เท่าเทียม จู่ๆ หลายคนก็รวยขึ้นมาทันควันเพราะการเปิดประเทศทำให้การพัฒนาตัวเองนี้ตามไม่ทัน ก็เลยมีมารยาทบางอย่างที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสากลโลกหลุดออกมาด้วย

แต่ตอนนี้รัฐบาลจีนเค้าก็ไม่นิ่งนอนใจมีแคมเปญบอกกับคนจีนว่า “เวลาที่คุณออกนอกประเทศคุณคือภาพลักษณ์ของประเทศจีน” ก็อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาหน่อยนะสุ่ยหลินว่า

แต่ก็เหมือนทุกชาติหล่ะ รวมถึงชาติไทยด้วยข้อดีเค้าก็มี เช่นโอบอ้อมอารีกับคนรู้จัก ช่วยเหลือเผื่อแผ่กับเพื่อนฝูงญาติมาก ขยันมากที่สุดและอดทนมาก สุ่ยหลินว่าเราก็เรียนรู้ข้อดีของเขาเอามาปรับปรุงข้อดีของเราให้ดีขึ้น ว่ากันง่ายๆ อะไรที่ดีของเขาก็เอามายืม อะไรห่วยๆ ก็อย่าเอามา เพราะวัตถุประสงค์ของการเรียนภาษาจีนของเราเพื่อให้เราทำงานที่ใช้ภาษาจีนได้ ได้เงินจากงานตรงนั้น ไม่ได้เรียนเพื่อจะเป็นคนจีนสักหน่อยเนอะ

ยาววววมากกๆๆ ค่ะ เขียนเพลินเลย คิดเห็นยังไงเชิญที่คอมเม้นท์เลยนะคะ

สุ่ยหลินเรียบเรียงจากนี้ค่ะ (แต่เติมคหสต.ตัวเองเข้าไปด้วย)
http://www.digmandarin.com/8-myths-about-mandarin-chinese-and-how-to-overcome-them.html

--------------------------------
ตอนนี้สุ่ยหลินมี Line@ แล้วน้าาาา

Add QR Code ข้างล่างหรือ Line ID: @qjk9935q "สุ่ยหลิน เรียนจีน" นะค้าา ถ้า add ไปเจอรูปผู้หญิงหน้าหมวยๆ ล่ะก็ มาถูกล่ะ ถ้าไม่ใช่ ผิดอันนะตะเองงง

ใครอยากเรียนภาษาจีนแบบฮาๆ ตลกๆ จีนนอกตำรา Add กันเยอะๆ นะคะ^^ สุ่ยหลินสัญญาว่าจะอัพเดทเรื่องภาษาจีน เรียนจีนแบบนอกตำรา จะอัพกันบ่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างนึงเลยล่ะ

สุ่ยหลินคอยอยู่นะคะ จัดมาด่วนๆ จ้า^^^

ปอลิง ถ้าใน message เนื้อหาไม่ขึ้น อย่าลืมดู Home หรือ Timeline ของ @สุ่ยหลิน เรียนจีนด้วยน้า^^ เย่ๆๆ เราจะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นแร้ววว (ลืมถามแฟนเพจว่าอยากใกล้ชิดอ่ะป่าว ><')


Monday, July 6, 2015

4 อันดับคำด่าด้วยไข่

เคยได้ยินป่าวคะ ว่าคนจีนเค้าใช้ "ไข่" เป็นส่วนหนึ่งของคำด่าล่ะ สุ่ยหลินได้ยินครั้งแรกๆ มีความรู้สึกไม่ค่อยเจ็บแฮะ (แปลว่าเคยโดนด่ามา :P) เดาว่าเหมือนกับว่าเวลาเราโดนด่าว่า "หมา" ก็รู้สึกเดือดร้อน เจ็บแค้น แต่ฝรั่งเวลาโดนด่าว่าหมาก็ไม่เจ็บเหมือนกันเพราะฝรั่งรักหมาประมาณนั้น

ทั้งที่จริงๆ แล้ว "ไข่" และ "หมา" ไม่เกี่ยวกับอะไรกับเราเลยว่าไหม มนุษย์นี่เองเป็นคนทึกทักให้คำพวกนี้กลายเป็นคำด่าไปเองเนอะ
เข้าเรื่องนะคะ

ภาษาจีนเค้าใช้คำว่า "ไข่" เป็นส่วนประกอบของคำด่าค่ะ มีความหมายว่าดูถูกดูแคลน ไม่เอาไหน เราฟังอาจไม่เจ็บ แต่คนจีนเค้าก็เจ็บมากบ้างน้อยบ้างนะ มาดูกันว่ามีคำอะไรมั่ง ส่วนตัวเลขที่อยู่ข้างหลังคือความรุนแรงของความเจ็บ (เวลาโดนด่า) ซึ่งเต็ม 5 นะคะ

อันดับที่ 1 坏蛋/小坏蛋 (huài dàn/xiăo huài dàn) แปลตรงตัวว่า "ไข่ห่วยๆ" หรือ "ไอ้ไข่เน่าเล็กๆ" คะแนนความเจ็บ 1/5

คำนี้เป็นคำด่าหรือบ่นกึ่งเอ็นดูกึ่งโกรธ มุ้งมิ้ง ฟุ้งฟริ้งดีแท้ เอาไว้ใช้เวลาผู้ใหญ่ด่าเด็กประมาณว่าซนอิ๊บอ๋าย ด่าแบบรักและเอ็นดูอ่ะค่ะ


อันดับที่ 2 懒蛋 (lǎn dàn) แปลตรงตัวว่า "ไข่ขี้เกียจ" คะแนนความเจ็บ 1/5


เหมือนเดิมค่ะเป็นคำด่าหรือบ่นที่พ่อแม่ไว้พูดกับลูก ประมาณว่าขี้เกียจจัดไม่ยอมตื่นนอนตอนเช้า "อ้ายไข่ขี้เกียจ เดวปั๊ดตีตาย"

อันดับที่ 3 笨蛋 (bèn dàn) แปลตรงตัวว่า "ไข่โง่" คะแนนความเจ็บ 3/5

อันนี้เป็นคำด่าที่เอาไว้ด่าเพื่อนด้วยกันโดยเฉพาะเพื่อนผู้ชายด่ากันเอง ไว้ด่าเวลาเพื่อนทำอะไรเปิ่นๆ หน้าแตก น่าอาย คำที่ระดับคำด่าใกล้เคียงกันคือว่าคำว่า 傻瓜 (shǎ guā) = อ้ายแตงโง่ 55


นอกจากนี้ บางทีก็เคยได้ยินแฟนกันเรียกกันเองด้วยคำว่า 笨蛋 ค่ะ อารมรณ์ภาษาไทยว่า "ยัยโง่" "ตาบ๊องส์" ไรเงี้ยค่ะ แต่ไม่ได้มีความหมายเชิงดูถูกเกลียดชังอะไรนะคะ ประมาณร้ากนะจึงด่า


อันดับที่ 4 混蛋 (hún dàn) แปลตรงตัวว่า "ไข่คน" (
 = คน(กริยา) ค่ะ คือคนผสมให้เข้ากัน) 混蛋 ตรงกับภาษาอังกฤษว่า asshole คะแนนความเจ็บสูงสุด 5/5 


คำเนี้ยเป็นค่าด่าที่เจ็บที่สุดในลิสต์นี้ค่า ปกติในหนังคือพ่อนางเอกไว้ด่าพระเอกที่มาเกาะแกะลูกสาว เวลาจะใช้คำเนี้ยต้องระวังหน่อยนะคะ เพราะว่าไม่ได้เจือความน่ารักน่าเอ็นดูไว้เหมือนคำอื่นนะคะ^^


สรุปแล้วถ้าแปลล่ะก็ จะไม่โกรธเท่าไหร่นะ เช่น ถูกด่าว่า ไข่โง่ๆ หรือ ไข่คนๆ น่าจะแอบขำมากกว่าเนอะ

สุ่ยหลิน^^
Credit เรื่อง: Yoyo Chinese

credit รูป http://joycete.com/
               http://tweets.seraph.me/