Sunday, June 28, 2015

ภาษาจีนก็มีชื่อเล่นนะจ๊ะ (中文名称)

สุ่ยหลินว่าหลายคนอาจงง ว่าทำไมภาษาจีนถึงเรียกได้หลายอย่างจัง ตอนเริ่มเรียนใหม่ๆ สุ่ยหลินก็งงเหมือนกันว่าทำไมต้องเรียกตั้งหลายชื่อ ทั้งๆ ที่ทั้งหมดก็คือภาษาจีนกลางเหมือนกันแหละ
มีทั้ง 国语, 普通话, 汉语, 中文, 白话文 ฯลฯ
ซึ่งทั้งหมดแปลว่า "ภาษาจีนกลางแมนดาริน!" ><'

พวกเราเองเรียนภาษาจีนในฐานะคนต่างชาติ อาจไม่เห็นความแตกต่าง แต่คนจีนฟังแล้วรู้สึกว่า sensitive บางชื่อก็ตั้งมาเพราะเหตุผลทางการเมือง บางชื่อก็เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมและความเป็นมาค่ะ

พอฟังอาจารย์เล่าให้ฟังก็ถึงบางอ้อ เลยอยากเล่าให้มิตรรักแฟนเพจฟังจัง ถึงแม้ว่าเราจะรู้คำแปลแล้วว่า คำพวกนี้แปลว่าภาษาจีนกลางทั้งหมด แต่พอรู้เหตุผลก็ช่วยให้เราจำได้แม่นขึ้น อาจารย์ถึงว่าเรียนภาษาต้องเรียนให้ถึงแก่น มันเป็นอย่างนี้นี่เองงงงงง....(เอคโค่) อุ อุ
เริ่มเลยนะค้า



国语 (Guóyǔ) แปลตรงตัวว่าภาษาของประเทศชาติ คำนี้เราคนต่างชาติไม่รู้สึก แต่คนจีนบางกลุ่มยังไม่ยอมรับ หรือไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของจีนรับไม่ได้ เพราะเค้าถือว่าเค้าไม่ใช่คนประเทศนี้ ภาษาของประเทศก็ไม่ใช่ภาษาของเค้าอ่ะดิ ดังนั้น เค้าไม่พูด เค้าไม่ใช้ (ภาษาจีนกลาง) คำเรียกนี้ก็เลยตกไป

汉语 (Hànyǔ) แปลได้ว่าภาษาของชนชาติ "ฮั่น" ซึ่งเป็นชนชาติที่มีจำนวนมากที่สุดในจีน ดังนั้นคงพอเดาได้ว่า เห้ย นี่มันภาษาของฮั่น ชั้นไม่ใช่ฮั่น ดังนั้น ชั้นไม่พูด คำเรียกนี้ก็ตกไปอีก

白话文 (báihuàwén) แปลว่าภาษาของชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป คำนี้ถูกเรียกขึ้นสมัยที่จีนยังมีกษัตริย์ เป็นคำตรงกันข้ามกับคำว่า 文言文 (wényánwén) คือภาษาที่ใช้ในราชสำนัก เป็นคำกลอน เน้นความไพเราะและคล้องจอง ไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน แต่คำเหล่าเนี้ย ต้องตีความอีกแปดตลบ ชาวบ้านฟังไม่ออก จึงมีคำเรียกภาษาของชาวบ้าน (ที่ไม่ต้องคล้องจอง ไม่ต้องเป็นกลอน) ว่า 白话文

中文 (Zhōngwén) คำนี้เป็นคำกลางๆ นิยมใช้กันอยู่ แค่พูดเฉยๆ ว่าภาษาของประเทศจีน 中国 แค่นั้น เอาว่าปลอดภัย ไม่กระทบใคร สันติสุขจงมา โอม...

普通话 (pǔtōnghuà) แปลตรงตัวว่าภาษาของคนธรรมดาๆ นะจ๊ะ เกิดขึ้นเพื่อลบความไม่เท่าเทียมกันว่าภาษากลางของประเทศเป็นภาษาของไผกันแน่ ไม่ใช่ของฮั่น ไม่ใช่ของแมนจู ไม่ใช่ของใครทั้งนั้น เป็นของคนธรรมดาๆ ทั่วประเทศจีน (ดังนั้น พูดเถอะนะจ๊ะ ใช้เถอะนะครับ ประมาณนี้)

ส่วนภาษาอังกฤษเรียกภาษาจีนกลางว่า Mandarin ถามว่ามาจากไหน ทำไมต้องเป็นแมนดาริน ก็เพราะราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจีนคือราชวงศ์แมนจู (โกนครึ่งหัวถักเปีย องค์ชายสี่ไงคะ) พอมีการตกลงเรื่องภาษาทางการของชาติเกิดขึ้น เลยมีการผสมระหว่าง ภาษาจีนของฮั่น จีนของแมนจู จีนของปักกิ่ง และอื่นๆ เข้าด้วยกัน กลายเป็นภาษาจีนกลางค่ะ ฝรั่งจึงเรียกภาษาจีนกลางว่า Chinese Mandarin ฉะนี้แล

อธิบายภาพ เป็นละครทีวี 电视剧 แต่นักแสดงพูดภาษาถิ่นเซี่ยงไฮ้มั่ง ปักกิ่งมั่ง กว่างตงมั่ง คนดูเลยบอกว่า 一句也没听懂! คือพูดไรกันอ่ะ ประโยคเดียวยังฟังไม่ออก

สุ่ยหลิน^^

Credit image google

Thursday, June 25, 2015

中国礼节: 7 ข้อที่ควรรู้เวลาไปกินโต๊ะจีน (เรื่องกินๆ ที่อย่ามองข้าม)

เวลามีถูกเชิญไปเป็นแขกกินโต๊ะจีน สุ่ยหลินคิดว่าหลายคนอาจจะรู้สึกอึกอักๆ นิดหน่อยกลัวว่าจะทำอะไรเปิ่นๆ หรือป่าว สุ่ยหลินเองตอนอยู่เมืองไทยก็เคยกินโต๊ะจีน (โต๊ะแชร์) บ้าง อาศัยว่าเราเป็นเด็ก (ตอนนู้น) ทำอะไรก็ไม่ผิดเนอะ แต่พอไปเรียนเมืองจีนจริงๆ เค้าเชิญไป ตอนนั้นก็ไม่เด็กแล้วค่า จะทำอะไรก็ต้องดูทิศทางลมด้วย กลัวจะหน้าแตก เดวจะขายหน้าประเทศชาติและเจ้าภาพ ><'

เลยสรุปมาเล่าสู่กันฟังนะจ๊ะ อันนี้ต้องบอกก่อนเลยว่าแต่ละพื้นที่ของจีนก็อาจมีธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป อันนี้เป็นกฏ กติกา มารยาทสากลอันกลางๆ ซึ่งภาษาจีนเรียก 中国礼节(zhōng guó lǐ jié) = ธรรมเนียมมารยาทจีน

ติดตามกันเลยน้า

ข้อ 1. นั่งตรงไหนดี?

เมื่อไปถึงร้านอาหารหลายคนคงงงว่าจะนั่งตรงไหนดี เป็นช่วงกระอักกระอ่วนอยู่สักพัก อึกๆ อักๆ ยึก ๆ ยักๆ


มันมีสูตรแบบนี้ค่า

ปกติโต๊ะจีนมักจะเป็นโต๊ะกลม จำง่ายๆ ได้เลยค่ะว่าเจ้าภาพหรือแขกที่อาวุโสสูงสุดในโต๊ะ (ทั้งอายุและหน้าที่การงาน) จะนั่งตรงข้ามกับประตูเสมอ เหตุผลเพื่อจะได้เห็นว่าแขกคนไหนเพิ่งมา จะได้ไปรับรองได้ (อย่าเผลอแย่งที่นั่งนี้นะตะเอ๊ง)

ส่วนแขกที่อาวุโสเป็นลำดับ 2 จะนั่งทางขวามือของเจ้าภาพ (หรือแขกที่อาวุโสสูงสุด) แขกที่อาวุโสเป็นลำดับ 3 จะนั่งทางซ้ายมือของเจ้าภาพ

โดยปกติแล้วเจ้าภาพจะให้แขกนั่งก่อนค่ะ ฉะนั้นไปถึงโต๊ะแล้วถ้าเป็นแขกละก็เตรียมนั่งก่อนได้เลยค่ะ แต่ถ้างง ไม่รู้นั่งไหนดี รอให้คนอื่นนั่งลงก่อนแล้วถามเจ้าภาพได้เลย ดีกว่านั่งผิดน้า



ข้อ 2. สั่งอาหารยังไงดี?
โต๊ะจีนทั้งหมดจะเป็นการแชร์อาหารกันตรงกลางแบบที่ทุกคนคุ้นเคยนะคะ ปกติเจ้าภาพจะสั่งอาหารเอง บางครั้งหากต้องการเอาใจแขก เจ้าภาพจะสั่งเอง 2-3 จานแล้วแล้วที่เหลือให้แขกเป็นคนเลือก ถ้าหากเจ้าภาพให้เราเลือกอาหารให้พยายามดูว่าคนอื่นสั่งอะไร จะได้ไม่สั่งซ้ำค่ะ



ควรสั่งอาหารให้หลากหลาย ที่สำคัญนิยมสั่งอาหารทั้งหมดเป็น “เลขคู่” เพราะหากเป็นเลขคี่จะหมายถึงมื้ออาหารในงานศพ (อันนี้บางคนถือ บางคนไม่ถือ) หรือถ้าไม่สะดวกใจสั่งก็บอกว่า 什么都可以 (Shénme dōu kěyǐ)= อะไรก้อกินได้ ก็ได้ค่ะแล้วคืนเมนูเค้าไป เค้าจะได้ให้คนอื่นเลือกแทน


3. รินชา/แสดงความขอบคุณ เจี๊ยก!ทำแบบไหนดี?
น้ำชาเป็นเครื่องดื่มหลักบนโต๊ะจีนนะคะ น้ำอื่นๆ เก๊กฮวย โค้กอะไรพวกนี้ไม่ใช่ธรรมเนียมจีนแท้แต่โบราณ เพิ่งมาทีหลัง

ตามธรรมเนียมแล้วผู้อาวุโสน้อยที่สุดมักจะรินชาให้กับทุกคน เล็งก่อนเลยใช่เราไหม? ถ้าไม่ใช่ก็ผ่านจ้า ถ้าใช่มาดูวิธีกัน

มีวิธีการรินชาให้ถูกธรรมเนียมค่ะ ทำง่ายๆ โดยจับหูกาด้วยมือขวาและใช้มือซ้ายประคองฝาการะหว่างริน นอกจากเพื่อแสดงความเคารพแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ฝากาหล่นลงมาด้วย



ถ้าชาหมดกา ให้เปิดฝากาไว้ครึ่งๆ วางไปบนกา เพื่อให้พนักงานเสริฟเห็นแล้วมาเติมชาได้ อย่าเอาฝากาวางบนโต๊ะห่างออกจากตัวกาเพราะเชื่อกันว่าจะโชคร้ายค่ะ (เค้าว่างั้นนะ)

สำหรับการแสดงความขอบคุณเมื่อคนอื่นมารินชาให้เรา ควรจะกล่าวขอบคุณด้วยว่า 谢谢 (xièxie)แต่ถ้าในกรณีที่บทสนทนาติดพัน กำลังเคี้ยวกับข้าวอยู่ เดวกระเด็น ฯลฯ ก็สามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสองนิ้วติดกัน เคาะเบาๆ บนโต๊ะ ข้างๆ ถ้วยชาที่มีคนรินให้ เป็นการแสดงความขอบคุณค่า


4. ใช้ตะเกียบยังไงให้ถูก?
ตะเกียบถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการกินของจีนนะคะ ตั้งแต่ภัตตาคารสุดหรูไปจนถึงร้านข้างถนนทุกร้าน ต้องใช้ตะเกียบทั้งนั้น คนรวย คนจน ทุกคนเท่าเทียมกันคือใช้ตะเกียบคีบอาหารเหมือนกันหมด




เพราะตะเกียบเกี่ยวพันกับชีวิตคนจีนแบบนี้นี่เอง เราจึงต้องให้ความสำคัญกับตะเกียบกันหน่อย มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบดังนี้ค่ะ

อย่าทำตะเกียบหล่นบนโต๊ะอาหาร เพราะดูเหมือนเราไม่มีมารยาท

อย่าส่งอาหารจากตะเกียบสู่ตะเกียบ หากจะคีบอาหารให้คนอื่น ก็คีบแล้ววางบนจานนะคะ

เล็งอาหารก่อนคีบ อย่ายื่นตะเกียบไปลังเลว่าจะคีบอะไรดี มันทำให้คนอื่นเสียจังหวะรู้มั๊ย

อย่าใช้ตะเกียบชี้ไปที่คนอื่นเพราะเหมือนชี้หน้าด่า เพราะคนจีนเชื่อว่าตะเกียบเทียบเท่ากับนิ้วของเรา

อย่าปักตะเกียบคู่ตั้งเด่บนชามข้าว เพราะมีรูปร่างคล้ายกระถางธูปซึ่งคล้ายกับวิธีตั้งโต๊ะเซ่นผู้เสียชีวิต

อย่าเคาะตะเกียบบนชามข้าว เพราะว่าคนที่ทำแบบนั้นคือขอทานที่เคาะเพื่อขอเงิน


5. จะเริ่มกินเมื่อไหร่ดี?
ตามธรรมเนียมแล้วควรรอให้ผู้อาวุโสสูงสุดเริ่มกินก่อน จากนั้นจึงหมุนไปรอบโต๊ะๆ เพื่อให้คนอื่นได้กินค่า อย่ารีบร้อนเปิดฟลอร์เป็นคนแรกนะคะ
แล้วก็อย่าตักอาหารคำใหญ่มาก เพราะว่าทุกคนในโต๊ะได้มีโอกาสกินอาหารจานนั้นอย่างทั่วถึง



ระหว่างกินอาหาร หากมีใครคีบกับข้าววางไว้บนจานเรา นั่นหมายถึงว่าเขาให้เกียรติ สิ่งที่ควรทำคือ กินเข้าไปแล้วบอกว่าอร่อยมาก! (ถึงแม้ไม่อร่อยก็ตาม---เมื้อกี้ชั้นกินตัวอะไรลงไปปป กรี๊ดดดด!)

6. วิธีกินปลาให้ถูก?
ปลา (鱼) เป็นอาหารที่ต้อง “มี” บนโต๊ะจีนเพราะคำว่า “ปลา” พ้องเสียงกับคำว่า “เหลือกินเหลือใช้” “年年有鱼” (nián nián yǒu yú) “年年有余”(nián nián yǒu yú) หมายถึงทุกปีมีเหลือกินเหลือใช้ ดังนั้น คนจีนจึงนิยมสั่งอาหารจานปลาบนโต๊ะจีนทุกครั้ง เพื่อถือเคล็ดว่าเหลือกินเหลือใช้ทุกปีนั่นเองค่าา



สิ่งที่ไม่ควรทำเกี่ยวกับจานปลาคือ พลิก (กลับด้าน) ปลา ความเชื่อนี้เริ่มมาจากชาวประมงที่เชื่อว่าปลาคือเรือ การกลับด้านปลาอาจนำโชคร้ายมาเยือน ทำให้เรือพลิกคว่ำได้ วิธีการคือ ให้ใช้ตะเกียบเลาะกระดูกปลาออกแล้ววางกระดูกไว้ข้างๆ

ปอลิง ถ้าทำยากก็รอคนอื่นทำ แล้วเราค่อยรอกินค่าา (สุ่ยหลินทำแบบเนี้ย- อุ้ย รู้ความลับเบย)


7. แล้วใครจะจ่ายเงิน?
เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการรับเชิญไปโต๊ะจีนเลยนะ
เคยแปลกใจไหมคะว่าทำไมเวลาจะจ่ายเงินตามร้าน คนจีนจะต้องมีการยื้อแย่งกันจ่ายบิล จนเกิดเป็นสงครามย่อยๆ ต่อหน้าบ๋อยที่ทำหน้าเซ็งอยู่ (ประมาณว่าตรูเห็นมาเยอะล่ะ ไอ้แบบเนี้ย!)



เหตุผลเพราะเป็นธรรมเนียมค่ะ (จบข่าวม่ะ) วิธีการที่เหมาะสมและมีมารยาทคือแขกบอกเจ้าภาพว่าจะขอจ่ายแทน 2-3 ครั้ง (ตรงนี่แหละค่ะที่เขาจะยื้อแย่งกัน และเราควรเข้าไปยื้อแย่งด้วยเล็กน้อยแต่พองาม) แต่ในที่สุดแล้วเจ้าภาพก็จะเป็นคนจ่ายเองในที่สุดค่ะ ถือว่าแขกให้เกียรติเจ้าภาพว่าเชิญมาแล้วก็มีตังค์จ่ายนะยะเธอวว์

จบแร้ววววค่า หวังว่าคราวหน้าเราถูกเชิญไปกินโต๊ะจีน เราจะกินได้อย่างถูกต้อง มาดมั่น และมั่นใจนะคะ^^^

สุ่ยหลิน

CR: Off The Great Wall, Invent China.org


------------------
ตอนนี้สุ่ยหลินมี Line@ แล้วน้าาาา

Add QR Code ข้างล่างหรือ Line ID: @qjk9935q "สุ่ยหลิน เรียนจีน" นะค้าา ถ้า add ไปเจอรูปผู้หญิงหน้าหมวยๆ ล่ะก็ มาถูกล่ะ ถ้าไม่ใช่ ผิดอันนะตะเองงง

ใครอยากเรียนภาษาจีนแบบฮาๆ ตลกๆ จีนนอกตำรา Add กันเยอะๆ นะคะ^^ สุ่ยหลินสัญญาว่าจะอัพเดทเรื่องภาษาจีน เรียนจีนแบบนอกตำรา จะอัพกันบ่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างนึงเลยล่ะ

สุ่ยหลินคอยอยู่นะคะ จัดมาด่วนๆ จ้า^^^

ปอลิง ถ้าใน message เนื้อหาไม่ขึ้น อย่าลืมดู Home หรือ Timeline ของ @สุ่ยหลิน เรียนจีนด้วยน้า^^ เย่ๆๆ เราจะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นแร้ววว (ลืมถามแฟนเพจว่าอยากใกล้ชิดอ่ะป่าว ><')




Wednesday, June 24, 2015

ต้องจำภาษาจีนทั้งหมดกี่ตัว ถึงใช้ภาษาจีนได้? ท้อแท้นะ สิบอกให้

ปัญหาหลักของคนไทย (และสุ่ยหลินแรกๆ) ในการเรียนภาษาจีนก็คือรู้สึกว่าต๊อแต้ สิ้นหวังในการจำตัวอักษรภาษาจีนมาก สรุปว่ามีกี่ตัวกันแน่ แล้วชั้นต้องจำอีกกี่ตัว? กว่าจะใช้งานได้ ถ้าเป็นงี้แล้วเมื่อไหร่ชั้นจะใช้ภาษาจีนได้ซะที?

วันนี้มีคำตอบที่อ่านแล้วจะแปลกใจ (เหมือนสุ่ยหลิน) ค่า อิ อิ ติดตามโลด

ตัวอักษรจีนสมัยใหม่ที่เราใช้กันทุกวันนี้ที่เรียกว่า 汉字 (hànzì) มีกี่ตัว?

คำตอบมีหลากหลายตำรามากๆ ค่ะ แต่เหล่าซือของสุ่ยหลินบอกว่า ปัจจุบันมี 80,000 ตัว (เฮือก!) และในอนาคตอาจเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ เพราะมีการขุดค้นการจารึกอักษรจีนในสมัยนู้นนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น ตัวอักษรจีนก็มีโอกาสแยะที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ฟังแล้วอย่าเพิ่งกลับบ้านไปเผาตำราไม่รง ไม่เรียนมันล่ะ นะคะ

เพราะว่าในบรรดา 80,000 ตัวเนี้ย มีตัวที่ใช้บ่อยฝุดๆ 560 ตัว ใช้บ่อยรองลงมา 807 ตัว และรองอันดับ 3 อีก 1,033 ตัว

แล้วมาบอกชั้นทำไม? (คุณผู้อ่านถาม)

ก็เพราะทั้งหมดมันรวมกันก็แค่ 2,400 ตัวเองค่า แปลว่าถ้าเรารู้จักศัพท์อักษรจีนแค่ 2,400 เนี้ยเราเข้าใจภาษาจีนในชีวิตประจำวันถึง 99% แร้ววน้าาา อีก 7 หมื่นตัวฝ่าๆ ที่เหลือ ช่างมันก่อนได้

โอ้ยๆ จำม่ะไหวหร้อก 2,400 ตัว (คุณผู้อ่านถาม)





อ่ะๆ ดูนี่ก่อนนะจ๊ะ

的 一 是 了 我 (มีตัวไหนไม่รู้จักมั่ง?--จะต้องถูกตีมือ) 5 ตัวเนี้ยปรากฏตัวบ่อยในภาษาจีนเป็นสัดส่วนถึง 10% (รู้แค่ 5 ตัว อ่านภาษาจีนออก 10% แล้วอ่ะ อันนี้หมายถึงเปิดหนังสือทั่วไป ใน100 ตัวนั้น มีหน้าตาเหมือนเจ้า5ตัว的 一 是 了 我นี้ซะ 10 ตัวจ๊ะ )



的 一 是 了 我 不 人 在 他 有 这 个 上 们 来 到 时 (ตัวไหนไม่รู้จักเปิดดิกด่วน) 17 ตัวเนี้ย (รวม 5 ตัวข้างบนแล้วด้วยน้า )ใช้เยอะคิดเป็นสัดส่วน 20% ของภาษาจีนแล้วค่ะ (เห้ย เราอ่านออกแล้ว 20% เย่)



的 一 是 了 我 不 人 在 他 有
这 个 上 们 来 到 时 大 地 为
子 中 你 说 生 国 年 着 就 那
和 要 她 出 也 得 里 后 自 以 会 家

(มั่นใจกว่าเกินครึ่งรู้จักนะ หรือไม่ก็เห็นบ่อยๆ) 42 ตัวเนี้ย ใช้บ่อยคิดเป็นสัดส่วน 30% ของภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้วนะ



的 一 是 了 我 不 人 在 他 有 这 个 上 们 来 到
时 大 地 为 子 中 你 说 生 国 年 着 就 那 和 要 她 出 也 得 里 后 自 以 会 家 可 下 而 过 天 去 能 对 小 多 然 于 心 学 么 之 都 好 看 起 发 当 没 成 只 如 事 把 还 用 第 样 道 想 作 种 开 美 总 从 无 情 己 面 最 女 但 现 前 些 所 同 日 手 又 行 意 动 方 期 它 头 经 长 儿 回 位 分 爱 老 因 很 给 名 法 间 斯 知 世 什 两 次 使 身 者 被 高 已 亲 其 进 此 话 常 与 活 正 感

140 ตัวนี้สำคัญนัก เพราะรู้และอ่านออก ก็สามารถอ่านหนังสือทั่วไปได้ออก 50 % แล้วจ้า


เห็นไหมว่าเราไม่ต้องท่องต้องจำ จนหน้ามืดตามัวก็เรียนภาษาจีนได้ เริ่มแรกก่อนเลยไปเอาตัวข้างบนนี้มาทบทวนให้ดีๆ ตัวไหนไม่รู้จักก็เปิดดิกเอา ถามเหล่าซือเอาได้ เป้าหมาย 2,400 คำไม่ใช่เป็นไปไม่ได้

เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนก็พัฒนาตัวเองได้นะ เชื่อสุ่ยหลินเต๊อะ! หมวยเอาหัวเป็นประกัน 55

สุ่ยหลิน^^


-------------------
ตอนนี้สุ่ยหลินมี Line@ แล้วน้าาาา

Add QR Code ข้างล่างหรือ Line ID: @qjk9935q "สุ่ยหลิน เรียนจีน" นะค้าา ถ้า add ไปเจอรูปผู้หญิงหน้าหมวยๆ ล่ะก็ มาถูกล่ะ ถ้าไม่ใช่ ผิดอันนะตะเองงง

ใครอยากเรียนภาษาจีนแบบฮาๆ ตลกๆ จีนนอกตำรา Add กันเยอะๆ นะคะ^^ สุ่ยหลินสัญญาว่าจะอัพเดทเรื่องภาษาจีน เรียนจีนแบบนอกตำรา จะอัพกันบ่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างนึงเลยล่ะ

สุ่ยหลินคอยอยู่นะคะ จัดมาด่วนๆ จ้า^^^

ปอลิง ถ้าใน message เนื้อหาไม่ขึ้น อย่าลืมดู Home หรือ Timeline ของ @สุ่ยหลิน เรียนจีนด้วยน้า^^ เย่ๆๆ เราจะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นแร้ววว (ลืมถามแฟนเพจว่าอยากใกล้ชิดอ่ะป่าว ><')



‪พินอินคืออะไร‬ อ่านออกไปแล้วคนจีนยังงง

คำถามจากน้องเชพ สิมิลันถามมาว่า ‪พินอิน‬ คืออะไรกันแน่ สุ่ยหลินขออธิบายไว้หน้าเพจ เพื่อให้แฟนเพจทุกคนได้อ่านไปด้วยกันนะคะ^^

กล่าวอย่างย่อและง่ายที่ซู้ด พินอินก็คือระบบที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการออกเสียงภาษาจีนกลางโดยยืมตัวอักษรโรมัน (อังกฤษ) มาใช้ แต่ไม่ได้ออกเสียงแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษนะคะ

เช่น Qingdao คนที่ไม่เคยเรียนพินอินมาก็จะออกเสียงว่า "ชิงดาว" คนจีนก็จะทำหน้ามันสิยังงงๆ อะไรหว่า ซึ่งตัวนี่ต้องออกเสียงว่า "ชิงเต่า" เป็นชื่อเมืองๆ หนึ่งในจีนค่า

ดังนั้น การมีอักษรโรมันอย่างเดียวม่ะพอ จำต้องมีเสียงวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วย ชื่อข้างบนเขียนแบบเต็มๆ คือ Qīngdǎo แบบนี้ค่ะ

‪‎ภาษาจีน‬ มีวรรณยุกต์ 4 เสียง ใกล้เคียงกับภาษาไทยซึ่งมี 5 เสียง ทำให้คนไทยได้เปรียบฝรั่ง เกาหลี ญี่ปุ่นมว๊ากกก ในการออกเสียงภาษาจีนเพราะภาษาข้างบนนั้นไม่มีวรรณยุกต์


ตารางออกเสียงพินอิน ดูได้ลิงค์นี้ค่ะ http://www.jiewfudao.com/index.php…

ส่วนเสียงที่คนไทยมีปัญหา เพราะเสียงนี้เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ใช้ภาษาคาราโอเกะเขียนก็ม่ะได้ เพราะเขียนยังไง๊ก็ไม่เหมือน ได้แก่เสียงเหล่านี้ค่ะ

q (ชี) , x (ซี) , z (จือ), c (ชือ), s (ซือ), zh (จรือ), ch (ชรือ), sh (ซรือ) และ r (ยรือ)

ส่วนสระปราบเซียน (เสียงที่คนไทยไม่มี) ได้แก่ yong( อี+อง), wa (อวา), wo(อัว), wai (อวาย), wei (เอวย), wan(อวาน), wen (อู+เอิน), wang (อวาง) และ weng (อู+เอิง)

ที่เหลืออีกเพรียบบบบ คนไทยออกเสียงได้ชัดค่ะ เย่!

วิธีออกเสียงคำเหล่านี้ สุ่ยหลินแนะนำว่าหัดฟังคลิปตามเจ้าของภาษา แล้วหัดออกให้ใกล้เคียง หลีกเลี่ยงการเขียนด้วยคาราโอเกะซึ่งไม่มีทางเขียนให้เหมือนได้ แล้วจะพาลทำให้ออกเสียงผิดด้วย

เขียนถึงเท่านี้ หลายคนคงคิดว่า เห้ย ใครจะรู้เรื่อง งงตายเลย

สุ่ยหลินแนะนำเลยค่ะ ว่าพินอินเป็นพื้นฐานแรกเริ่มของภาษาจีน เมื่อเด็กเดินก้าวแรก ถ้าเรียนเองแล้วยังงงๆ ถามเหล่าซือเลยค่ะ ว่าออกเสียงยังไง

ตอนสุ่ยหลินไปเรียนที่เมืองจีน ฝึกออกเสียงข้างบนอยู่เป็นเทอม ตอนนั้นยัง (แอบ) นึกว่า ตรูมาทำอะไรว้าา เรียนอะไลเนี่ย วันๆ มัวแต่ทำปากจู๋ ปากแยก ลิ้นดุนเหงือก ลิ้นดุนเพดาน ฟันขบ ฟันห่าง ปากอ้า ปากหุบ อยู่เป็นนานสองนาน

แต่ที่สุดแล้ว ถึง (เพิ่ง) ได้เข้าใจว่า พอเราพูดชัด ออกเสียงชัด คนจีนก็ฟังเราออกว่าเราพูดอะไรด้วยค่ะ ซึ่งสำคัญมากๆ

อีกอย่างที่สุ่ยหลินอยากเน้นก็คือ ไม่ใช่คนจีนทุกคนรู้จักระบบพินอินจ๊ะ เพราะระบบนี้ถูกคิดให้คนต่างชาติไว้เรียนภาษาจีน คนจีนเรียนภาษาจีนเป็นภาษาแม่ จึงไม่ได้เรียนโดยใช้ระบบนี้จ๊ะ สุ่ยหลินเคยไปถามคนจีนว่าคำนี้เขียนพินอินว่าไง เค้าทำหน้างงๆ แล้วตอบว่าไม่รู้ดิ T_T




คลิปนี้สอนออกเสียงพินอินแบบเป็นเพลงค่ะ ร้องตามไปก็มันดี
https://www.youtube.com/watch?v=Teomsfl-ylA

คลิปนี้สอนออกเสียงพินอินแบบนี้ครูมาพูดหน้าห้อง (ภาษาอังกฤษซับอังกฤษ)https://www.youtube.com/watch?v=5HjfI0n7JIM

ส่วนคลิปนี้สอนวิธีออกเสียงปราบเซียนทั้งหลาย เช่น sh, zh, ch, r โดยอ.หยางหยาง (ถึงแม้ว่าสอนเป็นภาษาอังกฤษ แต่เค้าออกเสียงชัดดีค่ะ สุ่ยหลินชอบ)
https://www.youtube.com/watch?v=if9UTOvQkJo

คลิปนี้ก็ดีค่ะ มีรูปตำแหน่งลิ้นตอนออกเสียง sh, zh, ch, r ให้ดูด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=NMUoZjVweVY

เสียงปราบเซียนอักเสียงนึงคือ ü ดูคลิปนี้เลยค่าาา ว่าออกเสียงยังไง
https://www.youtube.com/watch…

หวังว่าจะช่วยให้แฟนเพจและน้องเชพเข้าใจมากขึ้นนะคะ

สุ่ยหลินใช้ภาพจาก myhupu.com แล้วเอามาแต่งเพิ่มค่ะ^^

รักของพ่อใหญ่เท่าสวรรค์

爸爸的爱就像齐天大圣一样。
รักของพ่อใหญ่เท่าสวรรค์

สั้นๆ : พ่อแต่งตัวเป็น ‪ซุนหงอคง‬ ขายแตงโม เพื่อหาเงินรักษาลูกชายอายุ 6 ขวบที่ป่วยด้วยลูคิเมีย

ยาวๆ : เมื่อลูกป่วย ครอบครัวนี้พยายามดิ้นรนมาเงินมารักษา เทียวไปมาหลายโรงพยาบาล หมดเงินรักษาไป 2 ล้านกว่าบาท พ่อเด็กขายแตงโมเป็นอาชีพ แต่โชคไม่ดีขายของไม่ดี เงินไม่พอรักษา พ่อเด็กจึงตัดสินใจแต่งตัวเป็นซุนหงอคงและเช่าแผงขายแตงโมข้างโรงพยาบาลไว้ดึงดูดคนซื้อและดูแลลูกไปด้วย






ข่าวเขียนไว้ว่า
对于龙龙来说,爸爸的爱就像齐天大圣一样。
(duìyú lóng lóng lái shuō, bàba de ài jiù xiàng Qítiān Dàshèng yīyàng.)

ถ้าพูดถึงในมุมของหลงหลง (ชื่อเด็ก--แปลว่ามังกรน้อย) ความรักของพ่อก็ใหญ่เท่าสวรรค์ยังไงหยั่งงั้น

齐天大圣 (Qítiān Dàshèng) = เป็นฉายาของซุนหงอคง สมัยอ้างตัวเองว่าเป็นพญาวานรที่ยิ่งใหญ่เท่าสวรรค์ (ตอนนั้นยังไม่เจอกับพระถังซัมจั๋ง)

‪‎รักพ่อ‬ ให้มากๆ นะคะ^^ ก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้รัก

สุ่ยหลิน

เครดิตภาพอยู่ในรูปค่ะ

โลกนี้ไม่มีเรื่องยาก เพราะจะแพ้ทางคนใจสู้

天下无难事,只怕有心人 

tiānxià wú nánshì, zhǐ pà yǒuxīnrén



โลกนี้ไม่มีเรื่องยาก เพราะจะแพ้ทางคนใจสู้



 สอบ‎เกาเข่า‬ (เอ็นทรานซ์) ‪จีน‬ 
จบลงไปแล้วนะคะ เป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขันที่ต้องมีทั้งคนสมหวังผิดหวังกันไป

หลังจบเกาเข่า ก็มีเรื่องราวมาเล่าขานกันหลายเรื่องและหนึ่งในนั้นคือเรื่องที่สุ่ยหลินอยากนำเหนอในวันนี้ค่ะ

สั้นๆ :นักเรียนคนหนึ่งไม่มีแขนเข้าสอบด้วยเท้าเขียนหนังสือได้คะแนน 603 จาก 750 ซึ่งถือว่าสูงมาก



 ยาวๆ :นักเรียนคนนี้เสียแขนไปจากอุบัติเหตุไฟฟ้าตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เรียนรู้ใช้เท้าต่างมือทุกอย่าง ตั้งแต่กิน เขียนหนังสือ แต่งตัว กาข้อสอบ ฯลฯ แต่ไม่ได้ทำให้เค้าล้มเลิกพยายาม เค้าเข้าสอบเกาเข่าปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว ปีแรกได้คะแนน 538 และได้อีก 5 คะแนนพิเศษเพิ่มจากความพิการแต่ก็ยังไม่พอที่จะเข้ามหาลัยในฝัน

ปีนี้จึงเข้าสอบอีกครั้งทำคะแนนได้ 603 จาก 750 ประสบความสำเร็จในการสอบในที่สุด เย่ ลุ้นจิงๆ

天下无难事,只怕有心人 (tiānxià wú nánshì, zhǐ pà yǒuxīnrén) แปลเป็นไทยว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น


นักเรียนเค้าทำให้เราดูแล้ว แล้วเราล่ะคะจะรออะไรอีก อย่าเอาข้ออ้างสารพัดมาตัดอนาคตตัวเองเลยค่ะ

สุ่ยหลิน (โหมดเข้มเต็มพิกัด ดูรูปน้องนักเรียนแล้วรู้สึกฮึกเหิม พลังใจเปี่ยมล้น)

เครดิตภาพในรูปค่ะ

Friday, June 19, 2015

6 เทคนิค สกิลชอปปิ้งขั้นเทพที่‪เมืองจีน

สุ่ยหลินไปอ่านเจอบทความนี้มาค่ะ เค้าเขียนให้ฝรั่งอ่านไว้เวลาไป ‪ซื้อของที่เมืองจีน แต่อ่านแล้วมีประโยชน์ดีค่ะ คนไทยอ่านได้ฝรั่งอ่านดี สุ่ยหลินเลยขอมาเล่าสู่กันฟัง อย่าหาว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนน้า เพราะสำหรับมือใหม่หัดซื้อ เราจะได้ไม่ตกประหม่า โดนมนต์แม่ค้าหรือโดนคนจีนหลอกได้ง่ายๆ

มาติดตามกันเนอะ

เทคนิคที่ 1 โปรดเข้าใจระบบการลดราคาของคนจีนก่อน มันเป็นอะไรที่ตอนไปใหม่ๆ สุ่ยหลินงงมว๊ากกกก เป็นไรกันมากหรือป่าวอ่ะ (คิดในใจ) คือกลับข้างกับประชาคมโลก มันงงนะรู้ไหม๊!

ง่ายๆ คือราคาที่ปรากฏในป้ายคือราคาที่เค้าจะขายเรา (เป็นเปอร์เซนต์) “ไม่ใช่” ย้ำอีกน้าว่า “ไม่ใช่” ราคาที่เค้าจะลดให้เรา (ดูรูปประกอบ) 3 折 แปลว่าเค้าจะขายเราในราคา 30% ของราคาขายค่ะ แปลว่าลด 70% นะ ดังนั้นเลขยิ่งน้อยยิ่งดีชิมิๆ

ส่วน 折(zhé) = ลด ค่ะ

มาเข้าคอร์สเร่งรัดหัดอ่านป้ายชอปปิ้งกันค่ะ

ป้ายลดราคาเมืองจีนเขียนเลขหลักหน่วยค่ะ คือเขามองว่าราคาเต็มคือ 10 ค่ะ หากเราถนัด %ก็เติมศูนย์ไปตัวนึง ดังนั้นป้ายที่เห็น 3折 คือขายให้เราราคา 30% หากเห็นป้าย 4.5折 คือขายให้เราในราคา......... 45% ค่า... อ่านเป็นแล้วนิ



ดูป้ายนี้มี低至 dī zhì แปลตรงตัวคือ ต่ำสุดถึง แปลให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ ลดต่ำสุดค่ะ

ดังนั้นป้ายนี้เขียน 低
3折 หมายถึงขายให้เราต่ำสุดถึง 30% แปลเป็นไทยง่ายๆว่าลดสูงสุดถึง70% (แล้วก็นึกในใจ จะมีสักกี่ชิ้นว้าาา ที่ลด70%)

นอกจากนี้ บางครั้งเราอาจเจอคำนี้ด้วย 折起 (zhé qĭ) = ขึ้นไป เช่น 2折起 (2 zhé qĭ) = ก็แปลว่าขายในราคา 20% ขึ้นไปก็คือลดราคา 80% ลงมาค่าาา 

(งั้น2折起 กับ 2折ความหมายก็เหมือนกันค่ะ คือ ลดราคาสูงสุด 80 % อ๊ากกกกกซ์ซ์ ร้องเฉยๆ เรียกแขก อิอิ)





เทคนิคที่ 2 บางครั้งแม่ค้าพ่อค้ามาในมุขดุดัน ไล่ล่า อันนี้สุ่ยหลินว่าฝรั่งตกใจกว่าเรานะ เราคนไทยคุ้นชินพอตัว สั่งสมภูมิต้านทานมาพอสมควร พูดง่ายๆ คือบางร้านคนขายตื้อฝุดๆ เดินตามเราเป็นนานสองนานเพื่อให้ซื้อของให้ได้ วิธีแก้ไขคือหันไปบอกเค้า มองตา (อย่าหลบตา— นี่มันสงครามเร๊อะ!) แล้วบอกว่า不要了(bú yào le) = กรูไม่เอาแล้ว จะชักสีหน้าก็ได้นะนาทีนี้

แต่ถ้ายังไม่เลิก ให้ตะโกนว่า 警察 ๆ (jǐngchá) = ตำรวจๆ (โว้ย) แต่ถ้ายังไม่เลิกอีกก็ซื้อของเค้าไปเถอะค่ะ เอ้ย ก็วิ่งหนีเถอะค่า น่าจะเลิกแล้วน่า






เทคนิคที่ 3 จำไว้ว่าชอปปิ้งที่เมืองจีนต้องมีเงินสด ร้านในห้างรับบัตรเครดิตค่ะ แต่ถ้าตามร้านเล็กย่อย ซอยน้อย เงินสดเท่านั้นนนนะคะ^^






เทคนิคที่ 4 เค้าตั้งราคาให้คุณต่อ ดังนั้นต้องต่อราคา ถ้าไม่ใช่ในห้างที่มีราคาแน่นอนต้องต่อราคานะคะ เค้าเผื่อราคาต่อไว้แล้ว ถ้าไปเดินตาม night market ถนนคนเดิน ร้านเล็กน้อยต่างๆ ก็ต่อราคาสัก 50% เลย (ฝึกหัดเคล็ดวิชาหน้าหนา เดวจะชินค่า อิ อิ) ถ้าเค้าไม่ให้ก็ใจเย็นๆ เดินอีกหน่อยจะเจอร้านที่ขายของเหมือนๆ กันอีกแน่นอน ฟันธง! (อีตานี่ กะต่อให้เหลือ 30 % ใช่ไหม สกิลต่อราคาใช้ได้แล้ว แต่ภาษามือยังอ่อนหัด สงสัยยังไม่ได้อ่านโพสนี้ ไปอ่านข้อต่อไปก่อนนะเธอว์)






เทคนิคที่ 5 คนจีนชอบใช้ “มือเดียว” เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเลขราคา เพราะว่าภาษาจีนมีหลายภาษาถิ่นมากๆ ออกเสียงก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อความชัวร์ คนจีนมักนิยมใช้สัญลักษณ์มือแทนตัวเลขประกอบการพูด ซึ่งสัญลักษณ์มือที่ว่าใช่แค่มือเดียวและไม่เหมือนของไทยค่ะ (ดูรูปประกอบ) สุ่ยหลินเห็นสัญลักษณ์เลข 7 ครั้งแรกนึกว่าอะไรหว่า บ้านนี้มีหมาดุเร๊อะ!

ถ้างงหรือไม่แน่ใจ ก็เครื่องคิดเลขเลยค่า ง่ายสุดๆ กดๆ จิ้มๆ นะตะเอง อย่าเครียดๆ






เทคนิคที่ 6 ระวังของปลอม ของปลอมเมืองจีนนั้นเป็นเทพกว่าไปอีกขั้น ด้วยการไม่ปลอมยี่ห้อนั้นโดยตรง เพราะมันง่ายไป๊ แต่ปลอมด้วย “ความคล้าย” ของโลโก้นั้น (ดูรูปประกอบ) ดังนั้นก่อนจะซื้อต้องดูดีๆ นะคะ ว่าซื้อยี่ห้ออะไรมากันแน่ เดี๋ยวจะมาช้ำใจที่บ้าน ว่าซื้อตราจระเข้ แต่กลับมาหัวหันผิดทางนะจ๊ะ




หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ เวลาชอปปิ้งก็คิดถึง ‪#‎สุ่ยหลิน ด้วยน้า แต่เวลาซื้อของแพงมาหรือโดนเค้าหลอก ก็ให้ลืมไปซะว่ารู้จักสุ่ยหลิน 555

รักแฟนเพจนะคะ^^

เรียบเรียงจาก Yoyo Chinese

ภาพจาก google และ Yoyo Chinese


----------------------
ตอนนี้สุ่ยหลินมี Line@ แล้วน้าาาา

Add QR Code ข้างล่างหรือ Line ID: @qjk9935q "สุ่ยหลิน เรียนจีน" นะค้าา ถ้า add ไปเจอรูปผู้หญิงหน้าหมวยๆ ล่ะก็ มาถูกล่ะ ถ้าไม่ใช่ ผิดอันนะตะเองงง

ใครอยากเรียนภาษาจีนแบบฮาๆ ตลกๆ จีนนอกตำรา Add กันเยอะๆ นะคะ^^ สุ่ยหลินสัญญาว่าจะอัพเดทเรื่องภาษาจีน เรียนจีนแบบนอกตำรา จะอัพกันบ่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างนึงเลยล่ะ

สุ่ยหลินคอยอยู่นะคะ จัดมาด่วนๆ จ้า^^^

ปอลิง ถ้าใน message เนื้อหาไม่ขึ้น อย่าลืมดู Home หรือ Timeline ของ @สุ่ยหลิน เรียนจีนด้วยน้า^^ เย่ๆๆ เราจะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นแร้ววว (ลืมถามแฟนเพจว่าอยากใกล้ชิดอ่ะป่าว ><')


Thursday, June 18, 2015

得 คืออะไรกานพี่น้อง?? ถ้าเป็นภาษาไทยต้องแปลไหม ถ้าแปลแล้วแปลว่าอะไรอ่ะ (ตอนที่ 2)

ก่อนอื่นสุ่ยหลินขอขอบคุณมากค่า สำหรับยอด Like และ View ที่ล้นหลามสำหรับตอนที่ 1 ที่เล่าเรื่อง 得(de)(เตอะ) ไปค่า ดีใจจุงที่โพสมีประโยชน์กะคนหมู่มาก สุ่ยหลินกรุยทางไว้เป็นอบต.นะรู้ป่าว!

มาต่อตอนที่สองกันค่ะ ขอทบทวนนิดนุงนะ จากที่อ่านตอนแรกกันไปแล้ว
得มีวิธีการใช้คือ กริยา + 得 + ผลลัพธ์ของกริยานั้น
หากว่าเราจะพูดในรูปปฏิเสธ ก็ใช้不 แทนที่ 得นะจ๊ะ

วันนี้มาวิธีการใช้ 得+上 (ขึ้น)หรือ 下 (ลง) ซึ่งคนจีนใช้บ่อยมว๊ากกกก
ซึ่งมันก็เช่นเดียวกับการใช้得 ทั่วๆไปแหละค่ะ คือ กริยา + 得 + 上 (ขึ้น) หรือ 下 (ลง) โดยมี上หรือ下เป็นตัวบอกผลลัพธ์ของกริยา


มาดูตัวอย่างการใช้ 下 กันก่อนดีกว่า

อธิบายก่อนนิสนุง ว่า กริยา + 得/不 +下 จะเน้นไปที่ “พื้นที่ หรือ ช่องว่าง” ว่าสามารถทำให้กริยานั้นสำเร็จได้ไหม เริ่มกันเล้ยยย..

坐得下 (zuò de xià) แปลตรงตัวว่านั่งลงได้ (ไม่ได้แปลว่านั่งลงนะจ๊ะ ถ้าแปลแบบนั้นต้องพูดว่า 坐下 เช่น เพื่อนมาบ้านเจอหน้าเพื่อน เราก็พูดได้ว่า坐下 . 坐下 . นั่งๆๆ เรยจ๊ะเธอ ) 

坐得下 ตรงนี้หมายถึงสามารถพอที่จะนั่งลงได้ เป็นไปได้ที่จะนั่งลงได้ เช่น ที่ยังเหลือ ที่ยังว่าง เป็นต้น

坐不下 (zuò bu xià) แปลตรงตัวว่านั่งไม่ลง ก็เพราะว่าไม่สามารถจะนั่งลงได้แล้วเพราะที่นั่งเต็ม จำนวนที่นั่งมันน้อยไปไม่พอกับจำนวนคน แบบนี้ค่า

มาดูแบบใส่สถานการณ์ด้วยนะ

หากจะบอกว่ารถลูกอ๊อดของเรา (วีออสนั่นเอง) เรานั่งได้ 5 คนเต็มที่แล้ว 我的车坐得下五个人。(wǒ de chē zuò de xià wǔ gè rén) 

และถ้าเพื่อนจะติดรถไปด้วย จัดมากันสิบคนรถจะแตกซะก่อน เลยบอกเพื่อนไปว่า 真不好意思, 我的车坐不下十个人。(zhēn bù hǎoyìsi, wǒ de chē zuò bu xià shí gè rén) = ขอโต๊ดด้วยน้า รถชั้นนั่งสิบคนไม่ไหวหรอก (ไม่สามารถจะนั่งได้ เป็นไปไม่ได้ที่จะนั่งได้ พื้นที่ไม่พอ)


แถมๆ อันนี้ตลกจีน ตำรวจกวักมือเรียกให้หยุด (เพราะคนเกิน) ตาคนขี่มอเตอร์ไซค์ กลับตอบสวนไปว่า “นั่งไม่ได้แล้ว เพ่”(ม่ะต้องโบก) แล้วขี่ผ่านไปหน้าตาเฉย ><'

มีคลิปด้วย ดูได้ https://www.youtube.com/watch?v=ZP_MOLbEs0A



ดูตัวอย่างต่อไปนะคะ เป็นอีกตัวอย่างที่ใช้บ่อยค่ะ

吃得下(chī de xià) มีความหมายคือกินลง พื้นที่ในท้องยังพอมี มีความสามารถจะกินได้อีก แปลแบบไทยคือ "กินไหว" นั่นเอง

吃不下(chī bu xià) ก็คือกินม่ะลงแร้ว เต็มท้องล้นถึงคอหอยแล้ว 



อันนี้เข้ากับสถานการณ์ตอนไปกินบุฟเฟต์ได้เป็นอย่างดี หรืออยู่บ้านคุณแฟนตัวดีโทรสั่งฟิซซ่าสองถาดใหญ่เพราะชูชกเข้าสิง เราก็เห็นว่ากินช้าลง ลองทักไปว่า 吃不下了吗?(chī bu xià le ma) = "กินไม่ลงแล้วล่ะสิ" ไม่รู้ล่ะ จัดการให้หมดด้วย อนุญาตให้เก็บไว้กินมื้ออื่น แต่ห้ามกินอย่างอื่นจนกว่าพิซซ่าจะหมด งานโหดต้องมาว่างั้น


ลองมาดูตัวอย่าง 上 บ้างนะคะ

穿得上 (chuān de shàng) 穿= สวม ประโยคนี้จึงหมายถึงสามารถสวมลงไปได้ (คนจีนมองว่าการใส่เสื้อหรือสวมเสื้อลักษณะคือสวม "ขึ้น" มาบนตัว เลยใช้คำกริยาว่า 上 ที่แปลว่า "ขึ้น" ในขณะที่คนไทยมองว่าการใส่เสื้อเป็นการสวมตัว "ลง" ไปในเสื้อค่า)

สถานการณ์เช่น ลองเสื้ออยู่ คนขายจะถามว่า穿得上 吗? (chuān de shàng ma) = (สวม) ใส่ได้ป่าวคะ เป็นต้น

穿不上 (chuān bu shàng) คือรูปปฏิเสธ แปลว่าสวมไม่ลง ใส่ไม่ได้เพราะไซส์เล็กไปหรือแปลเป็นไทยคือใส่ไม่เข้าค่ะ


มาดูกริยาของคำว่า 穿 ค่ะ แปลว่าสวม เน้นว่าใช้กับของที่เราต้องสวมหรือใส่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเข้าไปข้างใน เช่นรองเท้า เสื้อผ้า กางเกง ถุงเท้าค่ะ

ที่ต้องอธิบายตรงนี้ ก็เพราะภาษาจีนมีกริยาอีกตัวหนึ่งคือ 
(dài)ใช้กับอุปกรณ์การแต่งตัวที่ "วาง" ไว้บนตัว พูดง่ายๆ คือไม่มีการสอดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายลงไปค่ะ

ตรงนี้คนไทยจะงง เพราะภาษาไทยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งหมดเรียกรวมกันว่า "สวม" หรือ "ใส่" แต่ภาษาจีนแยกกันเรียกค่ะ เช่น จะพูดว่า 戴帽子(dài màozi) = "สวม" หมวก และ 
眼镜 (dài yǎnjìng) = "สวม" แว่น จะไม่พูดว่า 穿帽子 หรือ 穿眼镜 เด็ดขาดเลยนะ

ไว้มาต่อกันคราวหน้านะคะ หวังว่าจะเข้าใจแจ่มกระจ่างกันมากขึ้นน้า ได้มิเสียแรงที่สุ่ยหลินเหงื่อตกกีบ พิมพ์มาให้อ่านกันนะคะ

加油加油!

สุ่ยหลิน

Wednesday, June 17, 2015

Chinese Street Food (อาหารรถเข็นเมืองจีน) Yum Yum ^0^

ตามคำขอของคุณ Chortchoung Imm ค่า ที่อยากให้ลงเรื่องอาหารรถเข็นเมืองจีน สุ่ยหลินจัดให้ตามคำขอค่าา

เหมือนกับตอนอาหารเช้าของจีนในโพสนี้ http://chinesexpert.blogspot.com/2015/06/2.html

สุ่ยหลินต้องบอกก่อนว่าแต่ละเมือง แต่ละส่วนของประเทศจีน ก็มีอาหารรถเข็นไม่เหมือนกันบางเมนูอาจขายเฉพาะทางเหนือ บางเมนูขายเฉพาะทางใต้ สำหรับเมนูที่สุ่ยหลินเลือกๆ มาเนี้ย ส่วนใหญ่จะเห็นว่าขายกันทั่วไปๆ เรียกว่าถ้าไปเมืองใหญ่ๆ ในเมืองจีนได้เจอแน่นอน

มาดูกันว่าอันไหน เราจะเล็งไว้กะไปกินที่เมืองจีนกันค่า


อันดับ 1 เมนูที่หลายคนรู้จักกันอย่างดี เต้าหู้เหม็น 臭豆腐 (chòudòufu) 

ตามชื่อเลยค่ะ คนจีนเค้าว่าเวลายังไม่ทอดก็เหม็น ทอดแล้วอร่อย 


ตอนสุ่ยหลินเรียนที่เจ้อต้า หน้ามอมีร้านรถเข็น 臭豆腐 อยู่ ถ้าวันไหนร้านยังไม่มา แต่คนขายกำลังเข็นรถมา เราจะได้กลิ่นลอยไปตามทาง หารถเข็นได้ไม่ยากว่าพิกัดอยู่ตรงไหน ประหนึ่งเป็น GPS เต้าหู้เหม็น เพราะกลิ่นแรงมาก

เมนูนี้เพื่อนเกาหลีของสุ่ยหลินเกลียดมว๊ากก ได้กลิ่นต้องอุดปากอุดจมูก ว่ากันตามตรงเต้าหู้เหม็นก็คือเต้าหู้ที่ขึ้นราแล้ว ถ้าเห็นตอนมันดิบ บางคนอาจไม่กล้ากิน เค้าว่าที่มาคือเต้าหู้ที่ลืมกินจนราขึ้น แต่ด้วยความเสียดายเลยลองไปทอดดู ปรากฏว่าอร่อยกว่าไม่ขึ้นราอีกแฮะ เขาเล่ามาว่าอย่างงั้น



อันดับ 2 #ก๋วยเตี๋ยวผัด 炒面 (chǎomiàn) 
ประมาณผัดไทบ้านเราค่ะ แต่คนละรสชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์เท่าไหร่ ใส่ผักหยิมนึง แล้วก็ใส่ซอส หากินได้ทั่วไปค่ะ (แต่สุ่ยหลินไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นะ เหมือนว่ามีแต่แป้ง แป้ง และแป้ง)





อันดับ 3 แป้งทอดใส่หอม 葱油饼 (cōng yóu bǐng) 
สุดยอดเมนูทำลายสุขภาพแต่อร่อยโคตะระ สำหรับคนรักของทอด ทอดกรอบทั้งหลายค่ะ มันเป็นอีกขั้นกว่าของปาท่องโก๋จีน เพราะทอดนานกว่า 


เป็นแป้งผสมเครื่องปรุงที่ใส่หอมด้วย ลักษณะเป็นก้อนกลมๆ แบนๆ ทอดจนน้ำมันท่วมจนกรอบ กัดทีต้องคว้ากระดาษมาซับน้ำมันที่ซึมออกมากันเรยทีเดียวเชียว


อันดับ 4 พุทราจีนเสียบไม้เคลือบน้ำตาล 糖葫芦 (tánghúlu) 


เมนูนี้เด่นดังทางเหนือของจีนค่ะ ทางใต้ไม่ค่อยเห็นนะ ถือเป็นของหวานที่หากินได้ทั่วไป เดิมเอาลูกพุทราจีนมาเสียบไม้ ปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็นผลไม้อื่นๆ ด้วย มีทั้งกีวีหั่นชิ้น ลูกพีช ลูกแพร์หั่นชิ้นเคลือบน้ำตาล


อันดับ 5 แฮมเบอร์เกอร์แบบจีน 肉夹馍 (ròujiāmó) เค้าว่าดั้งเดิมมาจากซีอัน ซึ่งมีชาวมุสลิมอยู่เยอะ เนื้อที่สอดไส้ก็เป็นแกะหรือวัว พอเผยแพร่ไปทั่วจีนแล้วเลยมีเมนูหมูขึ้นมาด้วย 


ข้างในเหมือนแฮมเบอร์เกอร์ฝรั่งก็คือเนื้อจะปรุงรสมาแล้ว เค้าว่าแต่ละร้านก็ปรุงรสเนื้อข้างในไม่เหมือนกัน เป็นสูตรลับเฉพาะตัว สูตรใครสูตรมัน ถ้าขายแถบเสฉวนก็ใส่พริกหมาล่าด้วย (เผ็ดจนชา)



อาหารรถเข็นพวกนี้ ได้อารมรณ์แท้ๆ ต้องถือเดินกินค่ะ ><'

นอกจากนี้ยังมีเมนูอื่นๆ ที่ซ้ำกับเมนูอาหารเช้าที่สุ่ยหลินเคยลงไปแล้ว เช่น เจียนปิ่ง ซาละเปา เนื้อแกะย่าง ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นอาหารรถเข็นเหมือนกัน เพราะบางพืนที่ขายตั้งแต่เช้ายันดึกก็เมนูเดิมนี่ล่ะ

ไปเมืองจีนคราวหน้า สุ่ยหลินจะกินแฮมเบอร์เกอร์แบบจีน 肉夹馍 ให้หายอยากเลย ลุย ลุย

สุ่ยหลิน^^


ภาพจาก http://etramping.com

http://live-less-ordinary.com

Saturday, June 13, 2015

得 คืออะไรกานพี่น้อง?? ถ้าเป็นภาษาไทยต้องแปลไหม ถ้าแปลแล้วแปลว่าอะไรอ่ะ (ตอนที่ 1)

สุ่ยหลินมั่นใจล้านเปอร์เซ็นต์ว่าคนเรียนภาษาจีนใหม่ๆ ต้องได้เจอกับตัวอักษรตัว 得 [de]เนี้ย แล้วก็จะงงว่ามันคืออาไล ทำไมต้องมี มีหรือไม่มีในประโยคก็ความหมายเท่าเดิม (เด๊ะ!) แล้วเวลาแปลต้องแปลไหมฮึ?

วันนี้มาเคลียร์ใจใสกระจ่างกับ 得 กันน้า

得 เป็นไวยากรณ์ตัวหนึ่งของจีน พูดสั้นๆ แบบประโยคเดียวกับจบข่าวได้ว่า ไวยากรณ์ตัวนี้ภาษาไทยไม่มี (แต่จีนมี!) ดังนั้น เวลาแปลเป็นไทยไม่ต้องแปล得 ที่เหลือแปลเหมือนเดิม ถ้าถามว่าจะพูดประโยคจีนโดยไมใส่ 得 ผิดไหม คำตอบคือผิดไวยากรณ์ แต่คนจีน (พอ) ฟังออก จบปึ๊ง!

การใช้ 得 เป็นอะไรที่เหล่าซือเน้นมากๆ ตอนเรียน เพราะเป็นประโยคที่คนจีนใช้บ่อยมากๆ ค่ะ (แต่คนไทยไม่มี เลยงงกันหน่อยนะ)

โครงสร้างการใช้ลักษณะนี้คือ กริยา + 得 + ผลลัพธ์ของกริยานั้น

มาดูวิธีการใช้ 得 กันดีกว่าค่ะ

อย่างเช่น เริ่มเรียนภาษาจีนใหม่ๆ กำลังสอนอยู่ เหล่าซือเห็นเราทำหน้างงๆ ก่งก๊งอยู่ ก็ถามว่า

你听得懂吗?(nǐ tīng de dǒng ma?) นั่นหมายความว่าเธอต้องตอบเหล่าซือแล้วล่ะ เพราะเหล่าซือถามว่า “เธอฟัง เข้าใจไหม?” ถ้าไม่ยอมตอบครูจะรู้นะจ๊ะว่าฟังไม่ออกแน่นอน



หรือเหล่าซืออาจจะถามแบบนี้ก็ได้ค่ะ 你听得懂听不懂?(Nǐ tīng de dǒng tīng bu dǒng?) “เธอฟังออกไม่ออก?”

เพราะงั้น 听得懂 จึงมี 懂 ที่แปลว่าเข้าใจ บอกผลลัพธ์ของกริยา 听 ฟัง ค่ะ ว่าฟังแล้วผลลัพธ์เป็นไง คือฟังออก นั่นเอง


ตัวอย่างต่อไปค่า ยันต์กันงง

看得到 (kàn de dào) = มองยังไง คือ “มองเห็น”
看不到 (kàn 
bu dào) = มองยังไง ผลลัพธ์คือ “มองไม่เห็น”



อันนี้แปลตรงตัวหมายถึงมองเห็นถึง และมองเห็นไม่ถึงค่ะ เป็นการมองที่เกี่ยวกับระยะทางไกลไกล้ หรือมีอะไรมาบังตาไว้ทำให้มองไม่เห็น ไม่ได้เกี่ยวกับสุขภาพสายตานะ

ถ้ามองไม่เห็นเพราะสายตาสั้น หรือมืดไป อันนี้ใช้看不到 ไม่ได้นะ ต้องใช้ 看不见 (kàn bu jiàn) แปลเหมือนกันว่ามองไม่เห็น หรือใช้看不清 (kàn bu qīng) แปลว่ามองไม่ชัดแทน


ตัวอย่างอีกอันนะ
มั่นใจตอนแรกที่เรียนได้ยินประโยคนี้ ต้องงงๆ แหงมๆ

买得起 (mǎi de qǐ) = ซื้อไหว
买不起 (mǎi bu qǐ) = ซื้อไม่ไหว ซื้อไม่ลง

คำว่า 买不起แปลตรงตัวคือซื้อไม่ขึ้น คืออะไลหว่า แปลแบบไทยๆเข้าใจง่ายๆ ว่าซื้อไม่ลงค่ะ (ของจีนเป็นขึ้น เพราะเค้าหมายถึงซื้อขึ้นมาเก็บไว้ ส่วนของไทยเป็นซื้อไม่ลงเพราะเน้นไปที่ราคา ว่าราคาแพงเกินจึงไม่สามารถซื้อลงไปได้) เป็นเพราะว่ามันแพงเกิ๊นหรือตังค์เราไม่พอก็ได้




เช่น 买不起房子 (mǎi bu qǐ fángzi) ซื้อบ้านหรือคอนโดไม่ไหวแล่ว เพราะราคาขึ้นพรวดๆ

买不起คำนี้จำไปใช้ได้นะคะ เอาไว้ต่อราคา ซื้อของที่เมืองจีน แพงไม่แพงยังไง ก็ต้องต่อราคาไว้ก่อน พ่อค้าแม่ค้ากะให้เราต่ออยู่แล้ว (อันนี้พูดถึงร้านทั่วไป ไม่ใช่ในห้างที่มีราคาแน่นอน ลดก็ลดตามป้าย)

เอาเป็นว่า พอได้ยินราคาเสร็จ ฟังแล้วกำลังแปลงเป็นเงินไทยว่ากี่บาทหว่า? อย่ารอช้า ตอบกลับไปก่อนว่า买不起,便宜一点吧。(mǎi bu qǐ, piányí yīdiǎn ba) แปลว่าซื้อไม่ไหวลดหน่อยค่า หากเขาลดให้สุดท้ายค่อยตัดสินใจว่าเอาไม่เอา 

หากอยากได้จริงๆ จะต่ออีกหน่อยก็ไม่ผิดกติกา หากเขาให้แล้วเราต้องซื้อแล้วนะ เพราะไม่งั้นเดี๋ยวเราจะได้เรียนคำด่าแบบฟรีๆ แห่ะแห่ะ หากว่าแพงไป ไม่เอาก็เดินออกมาค่ะ (ถ้ามีอะไรลอยมาตามลม สุ่ยหลินก็คิดว่าเสียงสวดมนต์แทน 55)


คำสุดท้ายของตอนที่1แล้วค่ะ
买得到 (mǎi de dào) = ซื้อได้
买不到 (mǎi 
bu dào) = ซื้อไม่ได้




คำว่า买不到 อันนี้เข้าใจง่าย แปลว่าซื้อไม่ได้ค่ะ เหตุผลก็ร้อยแปดเช่น ของหมด ไปถึงแล้วร้านปิด

เค้าว่าเงินซื้อ ไม่ได้ทุกสิ่งนะคะ ยกเว้นว่าเงินเยอะพออาจซื้อได้ (เช่น สุ่ยหลิน) อ่าว ไม่ใช่ละ><’ เพราะอย่างน้อย เวลาซื้อด้วยเงินไม่ได้ไง 钱买不到时间 (qián mǎi 
bu dào shíjiān) แก่เฒ่าไปจะรู้ซึ้งถึงคำนี้ สุ่ยหลินเริ่มรู้สึกหน่อยๆ แล้วล่ะ

สงสัยต้องต่อครั้งหน้านะ เริ่มยาว เดี๋ยวจะ 看不完 (kàn bu wán) อ่านไม่จบกันซะก่อน รู้น้าว่าเวลาน้อยต้องไปอ่าน page อื่นอีกใช่ไหม T_T ฮึกๆ

งั้นครั้งหน้ามาติดตามกันต่อนะ

รักแฟนเพจนะจ๊ะ จุ๊บๆ^^

สุ่ยหลิน

Monday, June 8, 2015

เรื่องของชา: เส้นทางของใบชาหลงจิ่ง 茶事:一片龙井树叶的旅行

วันนี้มีเรื่องน่าสนใจมาฝากค่ะเป็นเรื่องโลกของใบชาหลงจิ่ง ที่เป็นชาที่ (ว่ากันว่า) ดีที่สุดประเภทหนึ่ง โดยข่าวนี้เล่าถึงเส้นทางของใบชา 3 สาย ได้แก่คนเก็บใบชา เจ้าของร้านชาและคนดื่มชา ว่ามีเส้นทางหรือที่มาที่ไปเป็นอย่างไร

จขกท.เองก็ได้ยินมานานว่าชาหลงจิ่งที่ดีที่สุดอยู่ที่หางโจว แต่เพิ่งรู้ว่าชาหลงจิ่งที่แพงที่สุดคือใบชาต้นเทศกาลเช้งเม้ง มาติดตามเรื่องราวของใบชาหลงจิ่งที่ขายกันเป็นกรัมตั้งแต่กรัมละ 300 จนไปถึงกรัมละ 3,000 บาท

ติดตามกันได้เลยค่ะ

จากพาดหัวข่าว茶事:一片龙井树叶的旅行
• 茶事 (ฉา ซื่อ) = เรื่องของชา
• 一片 (อี เพี่ยน) = ใบชาหนึ่งใบ
• 龙井 (หลง จิ่ง) = ชื่อชา (หลง = มังกร) (จิ่ง = บ่อน้ำ)
• 树叶 (ซู่ เย่ว์) = ใบไม้
• 旅行(หลู่ย์ สิง) = การเดินทาง

Credit: http://slide.news.sina.com.cn/z/slide_1_33131_60063.html#p=1


เพียงเพื่อชาหนึ่งแก้ว จริงๆ แล้วต้องมีคนเกี่ยวข้องสักกี่คน เดินทางไป (เสาะหา) สักกี่แห่ง ก็เหมือนกับชาหลงจิ่งและเส้นทางของอุตสาหกรรมชาที่เชื่อมเข้าด้วยกันและมีหลายวงจรทับซ้อนกันอยู่ ความจริงแล้วชาไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ชายังมีความหมายถึงการติดต่อทางสังคมและการใช้ชีวิตอีกประเภทหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าระหว่างการจิบชา สนใจชา ขายชา หรือเรียนรู้เพื่อรู้จักชาให้มากขึ้นจะไม่มีเส้นแบ่งขีดที่ชัดเจน แต่ว่า “วงจรของชา” ยังหมายถึงการที่คนเข้าใจชีวิตมากขึ้น และเกี่ยวพันกับชาไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม

สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ข่าวจีนหรือเรียนภาษาจีน ติดตามเรื่องอื่นๆ ได้ที่ fan page จขกท.ได้ค่ะ ที่ https://www.facebook.com/simplychinese
ขอบคุณมากค่ะ



ภาพในนี้ถ่ายในตอนเช้าตรู่ของเดือนมีนาคม ฟ้าเพิ่งส่องสว่าง คนเก็บชาก็ขึ้นเขามาพร้อมเริ่มงานแล้ว ที่เมืองหางโจวไม่เพียงแต่เป็นต้นกำเนิดของชาเขียวหลงจิ่งของจีนเท่านั้น ยังเป็นพื้นที่ที่มีการที่บริโภคชาที่มากกลุ่มหนึ่งอีกด้วย ในบรรดาชาทั้งหมดชาหลงจิ่งถือว่าแพงที่สุดเพราะว่ามีจำนวนน้อย โดยเฉพาะชาหลงจิ่งที่เก็บก่อนเทศกาลเช้งเม้งถือว่าแพงที่สุด 


โดยปกติแล้วการให้ค่าแรงของคนเก็บชาจะคิดตามน้ำหนักใบชาที่เก็บได้ แต่เก็บชาหลงจิ่งจะให้ค่าแรงโดยนับจากจำนวนวันที่เก็บชา ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าในคุณภาพของใบชาที่ต้องเก็บทีละใบ ทีละใบ ชาวนาที่ทำไร่ชาบอกว่า “ถ้าให้ค่าแรงโดยคิดจากน้ำหนัก คนเก็บชาก็จะพยายามเก็บใบชาให้ได้จำนวนมากแต่ว่าไม่ได้มาตรฐาน ก่อนเช้งเม้งใบชาหลงจิ่งบริเวณทะเลสาบซีหูทุกใบล้วนมีราคาแพง จึงจำเป็นทำงานอย่างช้าๆและนุ่มนวลต่อทุกใบ”



ทุกปีจะมีช่วงเวลาให้คนเก็บชาทำงานสองเดือนกว่า คนเก็บชาส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยกลางคนในชนบทที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ งานของพวกเธอต้องก้มเอวลงเพื่อเก็บใบชาเป็นเวลานาน ไร่ชาบางแห่งอยู่บนเขาสูง พระอาทิตย์ขึ้นก็ออกไปทำงาน พระอาทิตย์ตกถึงได้พัก ดังนั้นจึงเหนื่อยมาก


เดือนเมษายน ที่หมู่บ้านชาวนาในเมืองหางโจว กลางดึกแล้วยังคง “ผัด” ชากันอยู่ ใบชาสดที่เก็บได้ในแต่ละวัน จำเป็นต้องผัดให้เสร็จในวันนั้น ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี ชาวนาต่างก็ทำงานทั้งกลางวันกลางคืนไม่หยุด ผู้หญิงรับงานออกไปเก็บใบชาตอนกลางวัน ผู้ชายรับผิดชอบผัดชาในตอนกลางคืน งานพวกนี้จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ยาวนานจนเกิดความชำนาญมาทำ ซึ่งคนรุ่นใหม่ไม่สนใจจะเรียนรู้ คนรุ่นเก่าที่มีประสบการณ์ต่างก็เริ่มอายุมากขึ้น กลายเป็นปัญหาที่ความรู้และทักษะพวกนี้ไม่มีคนอยากมาสืบต่อ (ภาษาจีนต้นฉบับใช้ศัพท์แปลตรงตัวว่า “ผัด” ค่ะ จึงเข้าใจว่ามีการใช้ความร้อนทำให้ใบชาสุกหอมจนได้ที่ –จขกท)


ใบชาหลงจิ่งที่ผ่านกระบวนการผัดแล้ว ฝ่ามือที่กร้านหนาและแผลเต็มมือเป็นมาตรฐานของคนทำชาหลงจิ่ง


ในภาพคือคุณลุงผู้เชี่ยวชาญทำชาซีหูหลงจิ่ง อายุเกือบ 60 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นคนดังในพื้นที่ ครอบครัวล้วนทำชาหลงจิ่งมาตลอด และในสารคดีเรื่อง “ชา, เรื่องของใบไม้หนึ่งใบ” ก็มีการถ่ายทำลุงขณะแนะนำชาหลงจิ่งด้วย


ต้นเดือนมีนาคม อากาศเริ่มอุ่น เจ้าของร้านชาในหางโจวเริ่มออกเดินทางไปยังภูเขาทางทิศใต้ ต้นชาเริ่มแตกหน่อ เธอเริ่มเข้ากระบวนการเสาะหาชาของปีใหม่อีกครั้ง ทุกปีมีเวลา 8 เดือนในการหาสุดยอดชาทั่วประเทศ เธอไปตามเมืองต่างๆ ใช้เวลาสิบกว่าปีในการเดินทางในจีน ไปตามไร่ชาซึ่งไม่สามารถนับเป็นจำนวนครั้งได้



ตั้งแต่ก่อนและหลังวันหยุดของเทศกาลเช้งเม้งจนถึงวันชาติจีน ต้องมีการควบคุมการจราจรที่มาหางโจวเพื่อชาหลงจิ่งโดยเฉพาะ



ภาพที่เห็นคือบ่อน้ำที่นักท่องเที่ยวมักถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ซึ่งไกด์จะเล่าให้ฟังว่าเป็นบ่อใช้ตักน้ำเมื่อนานมาแล้วในหมู่บ้านผลิตชาหลงจิ่ง ความจริงก็คือมีการขยายบ่อให้กว้างขึ้นจากเดิมเพื่อไว้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ยังไงก็ตาม ที่นี่ก็ยังเป็นหนึ่งในสถานที่ผลิตชาหลงจิ่งในระดับสูงอยู่ดี


เดือนเมษายน บนถนนสายธุรกิจที่หางโจว สาวพนักงานขายชาเชิญให้ลูกค้าลองชิมชาฟรีข้างถนน หางโจวไม่เหมือนกับเมืองฝูเจี้ยนหรืออันฮุยที่มีตลาดชาที่ขนาดใหญ่กว่า แต่ชาและผลิตภัณฑ์จากชา (ของหางโจว) ได้กระจายขายไปทั่วเมือง อย่างไรก็ตามชาก็มีวงจรของชา คนที่อยู่ในวงจรของชาก็ไม่เหมือนกัน ก็จะพบเจออะไรก็ไม่เหมือนกันไปด้วย



ที่หางโจวจะมีร้านน้ำชาแบบนี้ให้เห็นอยู่ทั่วไป บริกรร้านน้ำชาจะแต่งตัวนี้แบบนี้เพื่อเรียกลูกค้าและสาธิตการชงชาให้ดูด้วย




จากประวัติศาสตร์ หางโจวเคยมีงานเลี้ยงฉลองชาด้วย แต่ปัจจุบันงานเลี้ยงแบบนี้หาได้ยาก แต่ถ้าจะพูดถึงการใช้ใบชาเป็นส่วนประกอบของการทำอาหาร ก็ยังสามารถหากินได้ในภัตตาคารหลายแห่ง



พื้นที่บริเวณเจียงหนาน (ทางใต้ของแม่น้ำแยงซีรวมเมืองหางโจวและเมืองอื่นๆ ) มีอาหารหลายจานที่ใช้ชาเป็นส่วนประกอบ ภาพที่เห็นคือเครื่องบดชาแบบโบราณที่หาชมได้ยาก



ภาพที่เห็นคือสตูดิโอของผู้เชี่ยวชาญระดับอาจารย์ในการ “ผัด” ชาในร้านที่หางโจว คนจำนวนมากที่เดินผ่านต้องหยุดดู เจ้าของร้านถือว่าเป็นอีกคนที่คลั่งไคล้ในชา ทำร้านขนาด 60 เอเคอร์บนถนนสายนี้แล้วยังเช่าบ้านอีกหลัง เพื่อไว้ผัดชาโดยเฉพาะ เร็วๆ นี้เธอยังสร้างสรรค์วิธีใหม่ในการนำชาหลงจิ่งมาหมักให้เป็นชาแดงด้วย (ปกติหลงจิ่งคือชาเขียว)



คุณลุงในภาพกำลังมีความสุขในการดื่มชาที่ร้านน้ำชาเก่าแก่ ทุกวันลุงชอบมานั่งที่ร้านน้ำชาเก่าแก่อายุร้อยปีแห่งนี้ จิบชาสักแก้ว เติมน้ำตาลสักหน่อย ก็สามารถเล่นไพ่กับเพื่อนๆ ไปสนุกทั้งวัน เจ้าของร้านบอกว่าเปิดร้านน้ำชาไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์เรื่องเงินเป็นหลัก



สองสาวผู้รักแฟชั่นในภาพเป็นอีกประเภทของคนรักชา เจ้านายของเธอสองคนถือว่าเป็นผู้คลั่งไคล้ในชาอีกคน โดยทำร้านเสื้อผ้าตกแต่งให้คล้ายกับร้านน้ำชาเล็กๆ จากนั้นเที่ยวไปเสาะแสวงหาชาที่เด็ดๆ ทั่วโลกมา เวลาทำงานก็คือเวลาที่ทุกคนได้จิบชา จิบไปคุยไป ทำให้พนักงานในร้านทุกคนกลายเป็นคนรักชาไปด้วย



ทุกปีระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน นักธุรกิจที่หางโจวจะจัดกิจกรรม “งานเลี้ยงชา” เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว (จากภาพเป็นการแสดงในงานเลี้ยงชา-จขกท)



ภาพของพระที่วัดหย่งฝูในหางโจว ท่านได้กล่าวว่า “พระทุกวันต้องนั่งสมาธิตั้งแต่แสงส่องสว่างจนมืดค่ำ ง่ายมากที่จะง่วงนอน เพียงแค่ดื่มชาก็สามารถกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้ ดังนั้นการดื่มชาจึงได้กลายเป็นสิ่งงานอย่างหนึ่งของพระ”

จบแล้วค่ะ หวังว่าจะได้เปิดมุมมองของโลกที่มีต่อใบชานะคะ สำหรับจขกท.เองรู้จักใบชาแค่ตราสามม้าที่เคยกินตอนเล็กๆ ชื่อชาหรูๆ อย่างหลงจิ่ง ทิเอี๋ยกวนอิน ก็เคยได้ยินตอนไปเรียน แต่เอาเข้าจริงกินไปก็ไม่ค่อยรู้สึกเห็นความต่าง พอมาอ่านเจอบทความนี้เข้าเลยอยากแปลให้อ่านค่ะ เห็นว่ากว่าจะมาเป็นชาหรูๆ แพงๆ ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย เพิ่งเข้าใจว่าทำไมถึงแพง T_T 555

สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ตามต่อได้ที่ fan page จขกท.ที่ https://www.facebook.com/simplychinese
ขอบคุณมากค่ะ