Wednesday, May 27, 2015

อาหารเช้าแบบจีนๆ (‪#‎中国早餐‬) ตอนที่ 1

ตอนสุ่ยหลินไปเรียนที่เมืองจีน‬ มีอาหารเช้าสะดวกรวดเร็ว กินง่าย เดินไปกินไป (ไม่ค่อยเหมาะนะคะ ขออำภัย) ขายกันทั่วตามแผงลอยหน้าป้ายรถเมล์ หน้าโรงเรียน หรือตามแหล่งชุมชนต่างๆ

บางอย่างสุ่ยหลินก็ชอบมั่กๆ อยากมาแชร์ บางอย่างก็ไม่ค่อยโดนเท่าไหร่ ประมาณว่ากินไปกันตายไปงั้นๆ แต่ทั้งนี้แต่ละพื้นที่ก็ขายอาหารไม่เหมือนกันค่ะ สุ่ยหลินไปเรียนที่เซี่ยงไฮ้และหังโจว อาหารเช้าแบบนี้ก็คงมีความแตกต่างกับที่ปักกิ่งหรืออาหารทางใต้ค่ะ แต่ยังไงก็ตามเรารู้จักไวัมั่งไม่เสียหลาย จะได้ลองชิมเมื่อมีโอกาสนะคะ ^^


อันดับหนึ่งในใจสุ่ยหลิน ได้แก่....แต่น แต้น


‪‎เสี่ยวหลงเปา‬ (小笼包) อันนี้คนไทยรู้จักดีค่ะ คือซาลาเปาหมูสับแบบมีน้ำแกงข้างใน ซึ่งจะร้อนมากๆๆๆ ที่เซี่ยงไฮ้ขายลูกหนึ่งใหญ่มาก ลูกเดียวขนาดเท่าถ้วยไอติมวอลล์ได้เลย วิธีการกินต้องใช้หลอดดูดน้ำแกงออกมากินก่อน ระวังลวกปาก แล้วค่อยกัดไส้ค่ะ

ถ้าซาลาเปาธรรมดา (แบบไม่มีน้ำแกงเรียก) 包子 (เปาจึ) ถ้าแบบซาลาเปาไม่มีไส้เรียก 馒头 (หมานโถ่ว)

ปอลิง คหสต. ล้วนๆ ซาลาเปาธรรมดาที่ไม่ใช่เสี่ยวหลงเปา เมืองไทยอร่อยกว่ามว๊ากกกกค่า รวมทั้งหมั่นโถวด้วย เพราะถ้าที่เมืองจีนบอกว่าซาลาเปาไส้ผัก คือมีแต่ผักจริงๆ ไม่มีอย่างอื่นเลย คนไทยชนะเลิศเรื่องพลิกแพลงทรงเครื่องทั้งหลายแหล่ นอกจากนี้สุ่ยหลินว่าแป้งซาลาเปาของคนไทยนิ่มและนุ่มนวลกว่าค่ะ แต่ถ้าเป็นเสี่ยวหลงเปาเค้าอร่อยกว่าเยอะ





อันดับต่อมาคือ ‪โจ๊ก‬ ค่ะ ภาษาจีนเรียกว่า 粥 (โจว) ให้สังเกตว่าตรงกลางมีคำว่า 米 (หมี่) ที่หมายถึง "ข้าว" อยู่เพราะโจ๊กทำมาจากข้าวนั่นเอง

โจ๊กเมืองจีน (ที่ไม่ใช่ฮ่องกงนะคะ)ไม่เหมือนเมืองไทยค่ะ สุ่ยหลินไปใหม่ๆ ไม่ชอบเลย เพราะบอกได้โจ๊กเมืองไทยทรงเครื่องกว่าเยอะ มีทั้งหมูสับ ตับ เครื่องใน อิวจาก้วย ขิง ฯลฯ โอ้ย สารพัด แต่โจ๊กเมืองจีนมีแค่ข้าวตุ๋นเปื่อยกับไข่เยี่ยวม้าสับชิ้นเล็กเท่านั้น อาจมีหมูด้วย แต่เป็นหมูเป็นหมูน้อย ปลิวละลายไปกับข้าวแล้ว ไม่มีรสสัมผัสกัดเจอบะช่อคำโตไงงั้นเลย

แต่ตอนหลังพออากาศหนาวจัดๆ ได้กินโจ๊กแบบนี้ มันฟินอ่ะะ คือคลายหนาวได้ดี แถมราคาก็ถูกด้วย 2 หยวนก็ซื้อได้ล่ะ

เลยกลายเป็นเมนูในใจสุ่ยหลินเป็นเมนูที่สองค่าาาา


อันดับ 3 ได้แก่ เมนูเกี๊ยวทั้งหลายแหล่ เย่ !



เกี๊ยวจีน‬ กับเกี๊ยวน้ำเมืองไทยนี่มันคนละเรื่องกันเลยนะ แต่กินบ่อยๆ ก็อร่อยดี เกี๊ยวจีนเรียกว่า 饺子 (เจี่ยว จึ) ปกติข้างในเป็นหมูสับกับผักซอย แต่ก็มีอลังการงานสร้าง อาทิ ใส่กุ้งมั่ง ปูมั่ง หรืออะไรต่ออะไรตามแต่ราคาเกี๊ยว แต่ถ้าเป็นอาหารเช้าตามแผงลอยล่ะก็ ส่วนใหญ่มีแต่หมูกับผักค่ะ

เกี๊ยวจีนมีรูปร่างเหมือนเงินจีนสมัยก่อน นี่เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมไหว้เจ้า คนจีนนิยมไว้เกี๊ยว เป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวยเงินทอง ไหว้เสร็จก็ต้องกินด้วย จะได้เฮงๆ ว่างั้น

เกี๊ยวจีนเอาไปทำได้หลายอย่างเลยค่ะ ถ้าต้มเรียก 饺子 เหมือนข้างบน ถ้านึ่ง เรียก 蒸饺 (เจิง เจี่ยว) ถ้ากินเกี๊ยวต้ม คนจีนจะกินแค่เกี๊ยว ไม่กินน้ำซุปที่มาจากการต้ม ไม่เหมือนบะหมี่เกี๊ยวแบบคนไทย

สุ่ยหลินเคยหน้าแตกไปขอน้ำแกงมาแล้ว คนขายทำหน้างงๆ บอกไม่มีมีแต่น้ำเปล่า ฮ่วย! เวลากินก็จิ้มกินกับซอสเปรี้ยวๆ บางทีมีขิงซอยโรยมาด้วย

อืม พูดแล้วหิววววว

ไว้มาต่อกันคราวหน้าเรื่อง "‪‎อาหารเช้าแบบจีน‬" ตอน 2 นะคะ♡♡
สุ่ยหลิน ^^

ภาพจากอากู๋นะคับ

Sunday, May 24, 2015

สงครามเอนทรานซ์ (高考战争)

วันนี้สุ่ยหลินมีเรื่องน่าสนใจมากฝากค่ะ เป็นเรื่องการสอบเอนทรานซ์ของนักเรียนจีนทั่วประเทศ ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นสนามโหดหินซึ่งขึ้นชื่อลือชาว่าปราบเซียนเหลือหลาย อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนการแข่งขันรุนแรงกว่านี้มาก เปรียบเทียบง่ายๆ ว่าคนสอบทุก 10 คนจะมีแค่ 4 คนที่มีที่เรียนในมหาลัย อีก 2 คนจะไปเรียนโรงเรียนฝึกวิชาชีพ ที่เหลือคือไม่มีที่เรียน !!ต่อให้มีเงินก็ตาม (ตัวเลขไม่เป๊ะ)

นอกจากนี้ครอบครัวคนจีนมีความเชื่อกันว่าการสอบเอนทรานซ์สามารถเปลี่ยนชีวิตนักเรียนได้ การได้เรียนมหาลัยดีๆ หมายถึงอนาคตที่ดีขึ้น เป็นจุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนทุกคน ถ้าเอนท์ไม่ติดไม่มีที่เรียนก็ต้องออกมาทำงานรับจ้าง เคยถามอาจารย์ว่าเอนท์ไม่ติดก็เอนท์ใหม่ปีหน้าสิ อาจารย์บอกว่าตัวเลขนักเรียนม.6 สอบเอนท์ปีๆ หนึ่งเกือบ 10 ล้านคน (ปี 2014 มี 9.8 ล้านคน) ปีนี้เอนท์ไม่ติด ปีหน้าสอบใหม่ก็ได้ แต่ก็ต้องสู้กับอัตราส่วนคนสอบใหม่ในปีหน้าอันมหาศาลเหมือนเดิม T_T

และเพราะความเครียดความกดดันสูงนี้เอง จึงที่มาของแรงกดดันมหาศาลไม่เพียงแต่ไปยังเด็กนักเรียนเท่านั้น ยังรวมไปถึงครอบครัวของเด็กด้วย ครอบครัวจากชนบทยอมกู้หนี้ยืมสินส่งลูกเรียนขอให้เอนท์ติด หลายครอบครัวเชื่อว่าเอนท์ไม่ติดชีวิตจะพังทลาย มีตัวเลขการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะเอนท์ไม่ติดด้วย

ในภาพชุดเหล่านี้เป็นการถ่ายภาพของนักเรียนม.ปลายในมณฑลเหอหนาน แสดงถึงชีวิต ความเครียด ความกดดัน ความคาดหวังของทั้งนักเรียนและครอบครัวเพื่อเตรียมการสอบเอนทรานซ์ในปี 2014 ที่แล้วมาค่ะ (ของปีนี้กำลังจะเริ่มกันเดือนหน้านี้แหละค่ะ)

มาติดตามชีวิตของเด็กนักเรียนม.ปลายชาวจีน เพื่อเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์กันค่ะ
*****
จากพาดหัวข่าว高考战争
1. 高考(gāo kǎo) (เกา เข่า) = การสอบเอนทรานซ์ (เป็นชื่อเล่น เอามาจากตัวย่อ 2 ตัว มีชื่อจริงยาวเป็นวาว่า普通高等学校招生全国统一考试)
2. 战争 (zhàn zhēng) (จ้าน เจิง) = สงคราม

(บทความนี้เคยลงใน Pantip ค่ะ ถ้าอยากเข้าไปอ่านคอมเมนท์เพื่อนๆ หนุกหนานก็เชิญได้ค่ะ http://pantip.com/topic/32271333)

มณฑลเหอหนานซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่ประชากรมากที่สุดของจีน ในปี 2014 มีเด็กนักเรียนจีนเฉพาะในเหอหนานเตรียมสอบเอนทรานซ์ถึง 724,000 คน ทั้งนักเรียนรวมครูอาจารย์และพ่อแม่ ต่างก็แบกรับความกดดันไว้มากมาย รวมไปถึงความพยายามอย่างยาวนาน ทั้งหมดก็เพื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นวันสอบเอนทรานซ์ ทุกคนต่างมุ่งหน้าสู่ “สงครามเอนทรานซ์” พร้อมกับความเชื่อว่าจะเป็นวันที่สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตได้









改变(gǎi biàn) (ก่าย เปี้ยน) = เปลี่ยนแปลง
命运 (mìng yùn) (มิ่ง ยุ่น) = โชคชะตา


โรงเรียนมัธยมหรู่หนานเป็นโรงเรียนเก่าแก่มีชื่อเสียง ก่อตั้งมาหนึ่งร้อยปีในมณฑลเหอหนาน เพื่อเข้าสู่สงครามเอนทรานซ์ที่การแข่งขันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนได้พยายามอย่างยิ่งที่จะช่วยนักเรียนให้สอบให้ได้ ในภาพคือวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม ปี 2014 บนโต๊ะเรียนในห้องมีการวางของลักษณะคล้ายระเบิดมือปลอมไว้บนหนังสือ เพื่อเปรียบเทียบว่าการสอบที่กำลังจะเกิดเหมือนกับสงคราม พวกนักเรียนม.6 ต่างพูดว่า ทุกวันพวกเราเหมือนกับทหาร ต้องพร้อมที่จะ “ออกรบ” ตลอดเวลา

打仗 (dǎ zhàng) (ต่า จ้าง) = ต่อสู้,ออกรบ



“เพื่อเอนทรานซ์ฉันยอมเป็นบ้า ชีวิตจะรุ่งเรืองนับตั้งแต่ (เอนท์ติด)นี้ไป จะสู้จนเลือดหยดสุดท้าย <ตะโกนหนึ่งครั้ง> ปี 2015 ต้องสำเร็จ <ตะโกนอีกครั้ง> ฉันต้องทำสำเร็จให้ได้” ในภาพคือวันที่ 4 มิถุนายนปี 2014 นร.ของโรงเรียนหรู่หนานห้อง 515 กำลังตะโกนรวมพลังใจให้เข้มแข็งวันสุดท้ายก่อนหน้าสอบเอนท์ ที่รร.นี้นักเรียนทุกชั้นปี ทุกห้อง ทุกวันจะต้องตะโกนให้กำลังใจกันแบบนี้

狂(kuáng) (ขวง) = บ้า




วันที่ 4 มิถุนายน ปี 2014 ตอนเช้านักเรียนม.ปลายห้อง 517 ที่กำลังจะซ้อมสอบครั้งสุดท้าย ใช้เวลาที่เหลือน้อยนี้พักผ่อนสักครู่ ด้วยสถานการณ์ที่เคร่งเครียด ทำให้นักเรียนรู้สึกเหนื่อยมากอย่างผิดปกติ

模拟考试 (mó nǐ kǎo shì) (หมัว หนี เข่า ซื่อ) = การทำเลียนแบบการสอบจริง เช่น จับเวลาเท่าการสอบจริง รูปแบบข้อสอบใกล้เคียงกับข้อสอบจริง (อาจใช้ข้อสอบเก่า) เป็นต้น



วันที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2013 ที่โรงเรียนหรู่หนาน เป็นช่วงเวลาทบทวนหนังสือด้วยตัวเอง ไฟหอพักปิดแล้ว เด็กนักเรียนต้องใช้แสงไฟจากหลายๆ แหล่งเพื่ออ่านหนังสือต่อ ในโรงเรียนสามารถรับรู้ได้ว่า ความรู้สึกที่หนักแน่นที่สุดคือบรรยากาศของการเรียน ภาพนักเรียนก้มหัวลงอ่านหนังสือมีให้เห็นทั่วไปในทุกๆ ห้อง

坚持学习(jiān chí xué xí) (เจียน ฉือ สเว๋ สี) มุ่งมั่นเรียน



วันที่ 1 เดือนมิถุนายน 2013 เป็นภาพของอาคารเรียนของโรงเรียนมัธยมหรู่หนาน เห็นว่าเด็กนักเรียนอ่านหนังสือจนดึกทุกห้อง




เดือนกรกฏาคมปี 2013 เวลา 4 ทุ่ม 35 นาที ไฟในห้องพักดับแล้ว นักเรียนม.5 ใช้โคมไฟแบบชาร์ตแบตตอรี่ได้เพื่อส่องสว่างให้อ่านหนังสือกันได้ต่อ

熄灯(xī dēng) (ซี เติง) = ดับไฟ



วันหนึ่งในเดือนกรกฏาคมปี 2013 อากาศร้อนอบอ้าว ในหอพักนักเรียนชายของโรงเรียนมัธยมหรู่หนาน เหล่านักเรียนต่างต้องออกมานอนหลับกันที่ถนนด้านนอก พื้นก็ยังร้อนจากแสงอาทิตย์ตอนกลางวัน ต้องรอถึงตอนตี 2 พื้นถึงจะเย็นลงนอนได้สบายขึ้น พอถึงประมาณตี 5 พวกเขาก็ต้องรีบลุกขึ้น เริ่มต้นการเรียนที่เคร่งเครียดต่อไป ท่ามกลางอากาศแบบนี้ วันหนึ่งนอนได้แค่ 3-4 ชั่วโมง นักเรียนจำนวนมากจึงเริ่มบ่นถึงสภาพโรงเรียนที่ไม่ดีและไม่เหมาะกับการใช้ชีวิต

陆续 (Lù xù) (ลู่ ซู่) = ทีละน้อย, ทีละอย่างๆ



วันที่ 24 เดือนเมษายน 2014 อีก 43 วันจะถึงวันสอบเอนท์ เพิ่งผ่าน 6 โมงเช้าไปไม่ได้เท่าไหร่ นักเรียนหญิงโรงเรียนมัธยมจู้หม่าเตี้ยนคนนี้ กำลังรีบกินข้าวเช้าเพื่อไปโรงเรียน ลูกพี่ลูกน้องที่เพิ่งอยู่ม.1 ที่ต้องสอบมิดเทอมก็ต้องตื่นจากเตียงแต่เช้าด้วย ถึงแม้จะง่วงหรือหาว แต่เธอก็ถูกดึงให้ลุกขึ้นมาเหมือนกัน



นักเรียนหญิงคนนี้ (คนเดียวกับในรูปข้างบน) เพิ่งย้ายมาที่โรงเรียนจู้หม่าเตี้ยน เนื่องจากครอบครัวของเธอมีเวลาเจอกันน้อย เธอเองก็เรียนหนัก ไม่สามารถกลับบ้านไปกินข้าวเย็นที่บ้านได้ แม่จึงเอาอาหารเย็นมาที่โรงเรียนแล้วกินข้าวพร้อมหน้า ที่โรงเรียนมัธยมจู้หม่าเตี้ยน มีครอบครัวจำนวนมากต้องใช้วิธีนี้ โรงอาหารของโรงเรียนมื้อเย็นจึงเต็มไปด้วยครอบครัวกับเด็กนักเรียนที่ใช้เวลาที่มีไม่มากไว้พูดคุยเจอหน้ากัน

顾不上(gù bu shàng) (กู้ ปู ซ่าง) = ไม่สามารถเข้าร่วมหรือไม่สามารถจัดการ



เดือนพฤษภาคมปี 2013 โรงเรียนมัธยมหรู่หนาน เด็กนักเรียน 4 คนกำลังกินข้าวเช้าด้วยกัน เด็กนักเรียนที่นี่ส่วนมากมาจากชนบท ซึ่งต้องพักประจำที่โรงเรียน ชีวิตก็ลำบากแต่ต้องอดทนกัดฟันเรียนให้ได้ เพื่อเป้าหมายที่ว่า “ความรู้สามารถจะเปลี่ยนชะตาชีวิตได้” เด็กนักเรียนจากชนบทเหล่านี้ เอาชีวิตทั้งหมดมาพนันกับการสอบเอนท์ ความลำบากพวกนี้เด็กนักเรียนที่อยู่ในเมือง (หมายถึงฐานะดี) แทบจะจินตนาการไปไม่ถึง

寒窗(hán chuāng) (หาน ชวง) เป็นสำนวนหมายถึงชีวิตที่ต้องอดทน พากเพียรเรียน



ที่โรงอาหารในโรงเรียนมัธยมหรู่หนาน เพื่อป้องกันไม่ให้รีบร้อนแล้วหยิบอุปกรณ์การกินผิด นักเรียนทุกคนจึงใช้วิธีเอากุญแจมาล๊อคไว้ซะ

锁(suǒ) (สั่ว) = ล๊อค (กริยา)




วันที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ 2014 เจ็ดโมงเช้า หิมะตกเป็นเกล็ดบางๆ เป็นเวลาที่นักเรียนม.4 และม.5 เริ่มกินข้าวเช้า เพราะว่าจำนวนนักเรียนมีมาก นักเรียนม.6 จึงจำเป็นต้องถูกสลับเวลาล่วงหน้า ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที นักเรียนทั้งหมดก็กินจนเสร็จ นักเรียนที่กินเสร็จแล้วก็ทะยอยกันเข้าห้องเรียนไปเรียนหนังสือ

结束(jié shù) (เจี๋ย ซู่) = เสร็จสิ้น, จบ



วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2014 เป็นภาพถ่ายหิมะตกอีกภาพ หิมะนำมาซึ่งความสุขให้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมหรู่หนาน นักเรียนม.4 บนตึกสองคนเปิดหน้าต่างออกมายื่นมือไปรับเกล็ดหิมะที่ปลิวลง เมื่อพูดถึงชีวิตของเด็กนักเรียนเหล่านี้ พวกเขาคิดว่า 3 ปีสำหรับชั้นม.ปลาย ถือว่าเป็นฉากชีวิตการเรียนที่ต้องกัดฟันอดทนสู้ และแน่นอนว่าในฉากพวกนี้ต้องแลกมาด้วยเหงื่อ น้ำตา แต่ยังคงเชื่อว่าจะจบลงด้วยการหัวเราะอย่างเป็นสุข

乐趣 (lè qù) (เล่อ ชุ่ย) = ความสุข
欢笑 (huān xiào) (ฮวน เสี้ยว) = เสียงหัวเราะอย่างมีความสุข



หนุ่มคนนี้ชื่อหลี่ยิ่งถง เป็นนักเรียนห้อง 518 โรงเรียนจู้หม่าเตี้ยน และเป็นแชมป์เกมส์ออนไลน์ประจำจังหวัดด้วย เมื่อขึ้นม.ปลาย พ่อแม่ของหลี่ยิ่งถงซึ่งทำธุรกิจเล็กๆ ยอมทุ่มเต็มที่เพื่อการเรียนของเขา ที่บ้านของหลี่ยิ่งถง ในห้องเต็มด้วยหนังสือวางซ้อนๆ กันเป็นกองสูงจนถึงเพดานห้อง

生意(shēng yi) (เซิง อิ) = (ทำ)ธุรกิจ
舍得投资(shě de tóu zī) (เส่อ เตอ โถว จือ) = ยอมลงทุน



วันที่ 3 เดือนมิถุนายน 2014 นักเรียนห้อง 502 ชื่อเฉินจุนเฟิงกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการสอบในหอพัก เขาเป็นนักเรียนที่มีคะแนนสอบวิทยาศาสตร์สูงที่สุดในโรงเรียน หลบเข้ามานั่งหาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูล ทำให้มีเวลามากพอที่จะอ่านโดยไม่ถูกรบกวนจนใจวอกแวกจากการเรียน

干扰(gān rǎo) (กาน หร่าว) = รบกวน



เดือนพฤษภาคมปี 2013 เด็กนักเรียนหญิงกำลังแอบเช็ดน้ำตาอย่างเงียบๆ ระหว่างโทรกลับบ้าน โรงเรียนนี้มีนักเรียนมาจากชนบทเป็นจำนวนมาก ส่วนมากเป็นเด็กที่พ่อแม่ต้องไปทำงานที่อื่น เมื่อทุกคนจำเป็นต้องเรียนอย่างหนัก เดือนหนึ่งจึงยากที่จะได้กลับบ้านสักครั้ง ยิ่งพ่อแม่ทำงานต่างถิ่นบางทีปีครึ่งยังยากจะได้เจอกัน ยิ่งต้องมาเจอสถานการณ์กดดันอย่างการสอบเอนท์ เด็กหญิงที่อ่อนแอก็อดไม่ได้ที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกในใจออกมา

留守(liú shǒu) (หลิว โส่ว) แปลตรงตัวหมายถึงเด็กที่ถูกทิ้ง (ไว้ข้างหลัง) โดยหมายถึงการที่พ่อแม่ของเด็กจำเป็นต้องไปทำงานที่ถิ่นอื่น หรือเป็นเด็กที่ต้องอยู่ที่ชนบทดำรงชีวิตตามลำพัง บางทีก็อยู่กับญาติหรือเพื่อนบ้าน



ย่าของนักเรียนชายคนนี้ พูดถึงความลำบากของครอบครัวจนกลั้นไม่อยู่น้ำตาไหล เพื่อดูแลหลาน ย่าวัย 70 กว่าปีมาจากต่างจังหวัดเช่าห้องเล็กๆ ใกล้ๆ โรงเรียนเพื่อดูแลหลาน ในบริเวณที่พวกเขาเช่าอยู่มีอีก 16 ครอบครัวและเด็กอีก 40 กว่าคนเช่าอยู่รวมกัน ทั้งหมดก็คือครอบครัวที่มาเช่าเพื่อดูแลลูกหลานที่กำลังเตรียมตัวสอบเอนท์

伤心落泪 (shāng xīn luò lèi) (ซาง ซิน ลั่ว เล่ย) = เจ็บปวดจนน้ำตาไหลออกมา



เด็กชายคนนี้ (กำลังหาว) เป็นนักเรียนห้อง 556 โรงเรียนมัธยมหรู่หนาน มีครอบครัวที่ไม่มีความสุขนัก แม่จากไปด้วยมะเร็งกระเพาะ เมื่อพอรู้เรื่องก็ต้องอดทนลำบากเรียนเอง เรียนจนได้คะแนนติดหนึ่งในสิบของห้อง เขาบอกว่า “ผมมีแค่ต้องสู้ สอบเข้าได้มหาลัยที่หวังไว้ ถึงจะมีหน้าไปบอกกับย่า พ่อ และครูอาจารย์รวมถึงโรงเรียนที่ช่วยผมมาได้”

照顾 (zhào gu) (เจ้า กู) = ดูแล, เทคแคร์



ภาพห้องเรียนห้อง 487 นักเรียนหญิงคนนี้มักเป็นคนที่อ่านหนังสือคนสุดท้ายของวัน เหลืออีก 20 กว่าวันจะถึงวันสอบเอนท์ นักเรียนม.6 ต้องทำข้อสอบฝึกหัดทุก ๆ 2 วัน ถ้าได้พักผ่อนเต็มที่นักเรียนก็จะเรียนได้ดี แต่ทุกคนก็พยายามใช้เวลาทุกวินาทีอย่างมีค่า ส่วนใหญ่จึงอ่านหนังสือจนถึงดึก วันรุ่งขึ้นก็ตื่นแต่เช้า วันๆ หนึ่งเวลาส่วนใหญ่อยู่แต่ในห้องเรียน

争分夺秒(zhēng fēn duó miǎo) (เจิง เฟิน โต๋ว เหมี่ยว) เป็นสำนวนแปลว่าใช้เวลาทุกนาที, ต่อสู้ทุกนาที




เดือนพฤษภาคม 2013 ภาพของนักเรียนม. 4 หลังสอบกลางภาคเสร็จ มีการประกาศผลสอบที่ได้คะแนนดีต่อหน้า ที่ประชุมนักเรียน นักเรียนคนหนึ่งบิดขี้เกียจอย่างเหนื่อยล้า

疲惫(pí bèi) (ผี เป้ย) = เหนื่อยล้า



เดือนพฤษภาคม 2013 ที่ห้องพยาบาลของโรงเรียนหรู่หนาน นักเรียนที่เพิ่งกินข้าวเย็นเสร็จกำลังมาให้ยาผ่านทางหลอดเลือด เวลาป่วยเป็นหวัดนักเรียนส่วนมากเลือกที่จะรักษาโดยการให้ยาผ่านทางหลอดเลือด เพราะว่ารักษาหายเร็วกว่า (กินยา) และไม่ต้องกระทบกับเวลาเรียนด้วย

打点滴(dǎ diǎn dī) (ต๋า เตี่ยน ตี) การให้ยาผ่านทางหลอดเลือด

นักเรียนกำลังให้ออกซิเจนพร้อมกับอ่านหนังสือไปด้วยที่โรงพยาบาลเมืองซุ่ยหนิน

ครูโรงเรียนมัธยมกำลังทำการซ้อมสอบให้กับนักเรียน เพราะว่าเกาเข่าคือการสอบที่ชี้เป็นชี้ตายได้ การซ้อมสอบแบบนี้จึงได้รับความนิยมให้ทำกันมากขึ้นเรื่อยๆ

เดือนพฤษภาคม 2013 เด็กนักเรียนหญิงคนนี้กำลังยืนอยู่หน้าป้ายประกาศผลเอนทรานซ์ของ 6 จังหวัดหน้าโรงเรียน เพื่อการสอบเอนทรานซ์ โรงเรียนมักจะจัดการซ้อมสอบหลายๆ ประเภท โดยแต่ละโรงเรียนในเมืองนั้นจะรวมตัวกัน จัดให้มีการซ้อมสอบก่อนสอบจริง ยิ่งวันเอนทรานซ์ใกล้เข้ามา การสอบยิ่งเข้มข้น เพื่อให้บนเส้นทางที่เดินสู่การสอบจริง พวกเด็กนักเรียนรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นทหารผ่านศึกที่ผ่านสงครามมานับไม่ถ้วนแล้ว

身经百战 (shēn jīng bǎi zhàn) (เซิน จิง ไป๋ จ้าน) = ทหารผ่านศึก,มีประสบการณ์อย่างโชกโชน


วันที่ 3 มิถุนายน 2014 เหลืออีก 3 วันจะเอนทรานซ์ โรงเรียนมัธยมหรู่หนานจัดงาน “ปฎิญาณตนสอบเอนทรานซ์” ให้นักเรียนชั้นม. 6 เดินผ่านซุ้มประตูสูบลมสีรุ้งที่เขียนไว้ว่า “เตอเซิ่งเหมิน” 德胜门 (ชื่อประตูที่ปักกิ่ง) และ “ประตูแห่งชัยชนะ” ระหว่างทางได้รับกำลังใจและเสียงตะโกนเชียร์ให้สู้ๆ สู้ๆ จากนักเรียนชั้นม.4, ม.5 และครูอาจารย์กว่าอีก 5 พันคน

德胜门(Dé shèng mén) (เต๋อ เซิ่ง เหมิน) เป็นชื่อประตูชัยที่ปักกิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองทางเหนือ ปัจจุบันเป็นแลนมาร์คของถนนไฮเวย์วงแหวนรอบ 2 ของปักกิ่ง



วันที่ 8 มิถุนายน 2013 ตอนกลางวันที่โรงเรียนหรู่หนาน นักเรียนที่เพิ่งจะสอบเอนท์เสร็จลากเอาหนังสือที่ใช้การสอบลงจากตึกเพื่อเอาไปขายต่อในราคาถูกๆ ภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว!


วันสอบเกาเข่าปีนี้ตรงกับวันที่ 7-8 มิถุนายน 2014 มีนักเรียนจีนเข้าสอบทั้งสิ้น 9.8 ล้านคน จริงๆ แล้วการสอบเพียงแค่สองวันนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก สาเหตุเพราะความเครียดมหาศาลที่กดดันนักเรียนจากการสอบเพียงแค่ครั้งเดียว และเกาเข่าเองก็ถูกเชื่อมโยงว่าเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นของจีนด้วย

โรงเรียนเหิงสุ่ย ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมที่มีประสบความสำเร็จในการสอบเกาเข่าสูงสุดตลอด 14 ปีที่ผ่านมา มีคติพจน์ประจำโรงเรียนอยู่ 2 ข้อ คือ “ชีวิตไม่ใช่การซ้อม เพราะว่าคุณจะไม่มีโอกาสได้ลองใหม่อีกครั้ง” กับ “ถ้าไม่ตายจากการเรียน ก็จงเรียนให้หนักขึ้นอีก” ที่โรงเรียนนี้นักเรียนจะเรียนหนังสือกันตั้งแต่ ตี 5.30-1ทุ่ม 50 ไม่ให้ใช้มือถือ และหยุดได้เดือนละวัน กล้องวงจรปิดถูกติดไว้ในแต่ละห้องเพื่อดูว่านักเรียนคนไหนจะขี้เกียจ ที่ทำอย่างนี้เพราะโรงเรียนเองก็ต้องการเตรียมให้นักเรียนสอบผ่านเกาเข่าให้ได้เหมือนกัน


กระทรวงศึกษาของจีนรายงานว่านักเรียนทุกคนกำลังต่อสู้กับที่นั่งในมหาลัยที่ว่างเพียง 6.5 ล้านที่ (คนสอบ 9.8 ล้านคน) การสอบแบ่งเป็น 3 วิชาหลักคือภาษาจีน เลขและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการสอบเฉพาะทางด้วย ในอนาคตมีแผนที่ลดการเน้นการสอบภาษาอังกฤษลงแต่ไปเพิ่มการสอบภาษาจีนให้มากขึ้นแทน


นักเรียนกำลังสอบภาษาอังกฤษที่หอประชุมมหาลัยตงกว่าน


นักเรียนกำลังสอบสเก็ตซ์ภาพที่จี้หนาน มณฑลชานตง


แม่นักเรียนคนหนึ่งกำลังคอยลูกอยู่นอกประตูที่เหอเฝย มณฑลอันฮุย



นักเรียนกำลังขึ้นรถเมล์ไปสอบที่หลิวอัน มณฑลอันฮุย ครอบครัวรวมถึงเพื่อนๆ ของนักเรียนที่จะไปสอบต่างมาให้กำลังใจกันจนเต็มถนน


นักเรียน (คนซ้าย) กำลังอ่านหนังสือที่โรงแรมในเซี่ยงไฮ้ ที่เช่าไว้ใกล้กับสถานที่สอบเกาเข่า ที่ปักกิ่งคนขับรถแท็กซี่กว่า 1,700 คันยินดีขับรถไปส่งนักเรียนที่ต้องการไปสอบให้ฟรี


กล้องตรวจจับผู้เข้าสอบที่ซุ่ยหนิน มณฑลเสฉวน สำหรับใช้ตรวจจับกรณีโกงสอบ



นักเรียนฟุบหลับระหว่างพักอ่านหนังสือ โรงเรียนบางแห่งก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ากำลังผลิต “หุ่นยนต์” ที่สามารถอ่านหนังสือได้มากกว่า 15 ชั่วโมงต่อวัน


นักเรียนกำลังท่องหนังสือด้วยตัวเองตอนกลางคืนที่เหอเฝย มณฑลอันฮุย มีตัวเลขเปรียบเทียบว่ามีผู้สอบเกาเข่า 9.8 ล้านในขณะที่มีคนสอบ SAT เพียง 1.8 ล้านคน


พ่อแม่ของนักเรียนที่ฮวายเป่ย มณฑลอันฮุยกำลังคอยลูกที่จะสอบเสร็จด้านนอก (ดูครั้งแรกนึกว่าม๊อบ)



เจ้าหน้าที่ตรวจสอบนักเรียนก่อนเข้าสอบที่เสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง เจ้าหน้าที่ให้คำปฏิญาณว่าจะจัดการกับการโกงสอบให้ได้


กล้องซ่อนในปากกา (ที่ 2 จากซ้าย) และตัวรับสัญญาณซึ่งทำให้เหมือนยางลบ ที่ตำรวจยึดได้จากนักเรียน


แว่นตาซ่อนกล้อง และตัวรับสัญญาณที่เป็นเหรียญวงเล็กๆ


อุปกรณ์การโกงสอบอย่างอลังถูกจับได้ที่เฉิงตู มณฑลเสฉวน


มือถือและตัวรับสัญญาณที่ถูกยึดมาได้ กระทรวงศึกษาจีนบอกว่านักเรียนที่ถูกจับได้ว่าโกงสอบต้องถูกตัดสิทธิ์สอบ 1-3 ปี


ตำรวจพยายามจัดให้นักเรียนเข้าแถวเพื่อลงทะเบียนสอบ


พ่อแม่คอยลูกสอบเสร็จที่เซี่ยงไฮ้ (ป้ายสีแดงเขียนว่า ช่วงนี้คือช่วงสอบเกาเข่า)


นักเรียนเดินออกมาหลังจากเพิ่งสอบเสร็จวันแรก (คนมหาศาลมากๆ)











Monday, May 18, 2015

การ เดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถไฟ ตอน 2

ตั๋วรถไฟจีน‬ บอกอะไรเราบ้าง

ครั้งแรกที่สุ่ยหลินได้ ตั๋วรถไฟจีน ในมือ (จากการช่วยเหลือของเพื่อนจีนที่ฝากเค้าซื้อ) ความรู้สึกคือมันคือกระดาษสีชมพูใบเล็กๆ อ่อนๆ เล็กกว่าใบเซียมซี พิมพ์ข้อความแน่นเปรี๊ยะบนกระดาษ และข้อความทั้งหมดเป็นภาษาจีนนนนนล้วนๆๆ ฮ่วยๆๆ มีตัวอังกฤษอยู่จึ๋งนึง คือชื่อเมืองและโค้ดรถ (เรื่องโค้ดรถ เล่าไปแล้วในตอนที่ 1) ไม่ได้อธิบายอะไรเล้ยยย
หมวยปวดกบาลแท้ !!

แล้วสุ่ยหลินจะรู้อะไรมั่งเนี่ยยยยย จากกระดาษใบเท่าเนี้ย (ไปเมื่อไหร่ เวลาไหน พอรู้แล้ว แต่โบกี้ไหน ตู้ไหน เก้าอี้เบอร์ไหน ใครก็ได้บอกหนูที เสียค่าตั๋วไปแร้วววว)
ตั้งสติสักพัก เออๆ อีก 2 อาทิตย์เดินทาง เปิดดิกก่อนละกัน ไม่รู้เดี๋ยวไปถามคนอื่นเอา หมวยต้องพึ่งลำแข้งอวบๆ ตัวเองอีกครั้ง

วันนี้เรามารู้จักตั๋วรถไฟจีนกันดีก่า (ดูจากรูปปลากรอบจะเข้าใจมากขี้นนะคะ)




N582次 คือหมายเลขรถ (รถคันนี้รหัส N)

深圳西 (shenzhenxi) คือเมืองที่ออกเดินทาง (สังเกตุลูกศรไปด้านขวา คือกำลังเดินทางไป)

韶关 (Shaoguan) คือเมืองจุดหมาย

2008 年10月02日 คือรถไฟออกเดินทางวันที่ 2 เดือนตค. ปี 2008 (ภาษาจีนเรียงจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยเล็ก)

11.40 开 คือ รถไฟล้อหมุนตอนนี้ (แปลว่าตอนนี้จริงๆ อย่าไปสาย ไม่เหมือนเมืองไทยน้า ไม่งั้นได้วิ่งเหนี่ยวโบกี้ตูบแล่บแน่)

03 车 คือโบกี้ที่ 3 (บางคันมีเป็นสิบๆ โบกี้เลยค่ะ ถ้าได้โบกี้หลังๆ เผื่อเวลาเดินด้วย)

12号中铺 คือหมายเลขของเบาะนอนที่ซื้อ

ตรงนี้หมายถึงเลข 12 สังเกตคำว่า 中 แปลว่าเป็นเบาะกลาง มีบนกะล่างด้วย ที่นั่งนี้โดนขนาบเป็นแซนวิชล่ะ ถ้าสุ่ยหลินจำไม่ผิดเบาะล่างแพงสุด เบาะบนถูกสุด เดาเอาว่าลุกไปฉี่ง่ายเลยคิดแพงมั๊ง
เบาะบนเรียก 上铺 เบาะล่างเรียก 下铺

คราวนี้สบายขึ้นแล้วใช่ไหมคะ เฮ่ๆ แต่เผื่อเวลาไว้ด้วย บางทีรอเช็คอินเข้า gate คิวยาวรอกันเป็น 30 นาที-1 ชม.ก็มี

สุ่ยหลิน^^
รูปประกอบจาก train.huochepiao.com

Tuesday, May 12, 2015

การเดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถไฟ

ตอนที่สุ่ยหลินไปเรียนเมือง‎จีน‬ ใหม่ๆ การเดินทางด้วยรถไฟถือว่ายากที่สุด แต่เปล่านะคะ ไม่ได้ยากเพราะรถไฟมีปัญหาหรืออะไร สุ่ยหลินกล้าพูดเลยว่าระบบรถไฟจีน‬ ดีมาก ทันสมัยมีหลายเกรด หลายราคาให้เลือก รถไฟที่ตั๋วแพงก็สะอาด สะดวกรวดเร็ว มีน้อยมากที่จะดีเลย์ ช้า หรือมีปัญหา อยากจะบอกว่าดีกว่ารถไฟเมืองไทยเยอะค่ะ (จากใจจริงของคนที่อยากให้รถไฟไทยพัฒนาให้เทียมหน้าตา ‪รถไฟเมืองจีน‬)

แต่ปัญหาก็คือการซื้อตั๋วรถไฟต่างหาก

เพราะต้องซื้อกับเจ้าหน้าที่คนจีน โดยตรง ไม่มีระบบซื้อผ่านเครื่องหรือไม่ก็ต้องซื้อจากเนต (‪‎ภาษาจีนล้วนๆ‬ ) มันจึงช่างยากมว๊ากกกก สำหรับคนอ่อนภาษาเพิ่งไปอย่างสุ่ยหลิน ถ้าคนจีนก็ถือว่ากินหมู ซื้อง่าย ซื้อเร็ว สะดวกสบายหายห่วง



ตั๋วรถไฟที่เมืองจีนสามารถซื้อได้ที่สถานีรถไฟเลยมีช่องขายตั๋วเป็นช่องๆ เรียก 售票处 [shòupiàochù] และคืนตั๋วที่ช่องคืนตั๋วเรียก 退票处 [tuìpiàochù]นอกจากนี้ยังสามารถซื้อได้ตามสาขาของสถานีรถไฟซึ่งตั้งตามชุมชนทั่วไปอีกด้วยค่ะ สะดวกมากๆ

ตั๋วรถไฟมีหลายประเภทโดยมีรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษข้างหน้า ซึ่งไม่ได้มีไปงั้นๆ ค่ะ ตัวอักษรแต่ละประเภทบอกประเภทของรถและระยะเวลาในการวิ่งด้วย
มาดูกันค่ะ มีประโยชน์ทั้งคนที่ไปเรียนหรือไปเที่ยว

รถไฟที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร D มาจากชื่อเต็มว่า 动车 [dòngchē] และรถไฟที่ขึ้นต้นด้วย G ที่มาจากชื่อเต็มว่า 高铁 [gāotiě] เป็นรถไฟที่ตั๋วราคาแพงสุด แต่ก็วิ่งเร็วที่สุดด้วย ห้องน้ำสะอาด สะดวกสบาย เบาะกว้างขวาง มีหลาย class เช่น second class และ first class ราคาตั๋วไม่เท่ากัน วิ่งตามเมืองใหญ่ๆ ต่างๆ ของจีน

รถไฟขึ้นต้นด้วยตัวอักษร Z เป็นรถไฟสำหรับนอนโดยเฉพาะ มาจากชื่อเต็มว่า 直达 [zhídá] มีเบาะนอนสองแบบ แบบนิ่ม เรียก 软卧[ruǎnwò] และแบบแข็งเรียก 硬卧[yìngwò] สุ่ยหลินว่านอนแล้วไม่ต่างกัน แต่เบาะนิ่มแพงกว่าแข็งพอสมควร จุดเด่นของรถรหัสนี้คือไม่จอดระหว่างทาง

รถไฟขึ้นด้วยตัวอักษร T มาจากชื่อเต็มว่า 特快 [tèkuài] ช้ากว่า 直达[zhídá] เป็นรถไฟแบบนอนเหมือนกัน แตกต่างที่จอดบางสถานี

รถไฟขึ้นด้วยตัวอักษร K มาจากชื่อเต็มว่า 快速 [kuàisù] วิ่งช้ากว่าใคร (ถึงแม้จะแปลว่า "เร็วพิเศษ" อะไรแว๊) จอดเกือบทุกสถานี

แต่ก่อนเวลาซื้อตั๋ว สิ่งที่สุ่ยหลินทำ คือเข้าไปดูที่เว็ป www.huachepiao.com ซึ่งเป็น ภาษาจีนล้วนๆ พิมพ์ชื่อเมืองที่จะไปและเมืองที่เราอยู่
ระบบก็จะขึ้นลิสต์รถไฟทุกเที่ยวที่มีมาให้ สุ่ยหลินเลือกดูจากรหัสตัวอักษรข้างบนหน้ารถ ดูตังค์ในกระเป๋า จากนั้นก็พิมพ์เที่ยวออกมา สำรองไว้สัก 2 เผื่อเต็มแล้วเอาไปซื้อที่สถานีรถไฟหรือร้านสาขาค่ะ
แต่จริงๆ สิ่งที่คนจีนทำคือง่ายกว่าสุ่ยหลินมาก เค้าจะซื้อออนไลน์ แล้วตัดบัตรเครคิตหรือเดบิตเอา แล้วไปรับตั๋วที่สถานีค่ะ แต่ตอนนั้นสุ่ยหลินเป็นนักเรียนไม่มีบัตรอะไรเลยสักอย่าง เลยต้องใช้วิธี manual เอา

แต่ตอนนี้ง่ายกว่านั้นเยอะแล้วว มีเว็ปบอกเที่ยวรถไฟเป็นภาษาอังกฤษด้วย ไปที่ http://train.huochepiao.com แล้วทำแบบที่สุ่ยหลินทำข้างบนค่ะ
ชีวิตดีขึ้นเยอะเลย (แค่อยากถามว่าทำไมตอนนั้นไม่มีๆๆๆๆ) แต่ก่อนไปซื้อตั๋วที เกร็งแทบแย่ ฟังไม่ออก คิวก็ยาว คนข้างหลังก็หงุดหงิด ซื้อตั๋วเสร็จบางทีต้องมาพักเหนื่อยที่หอ ยังไม่ทันได้เที่ยวเล้ย ฮ่วย!
เดวคราวหน้าสุ่ยหลินมาเล่าให้ฟังว่า พอเราได้ตั๋วแล้ว บนตั๋วรถไฟบอกอะไรเรามั่งนะคะ ♡♡

โปรดติดตามค่า
สุ่ยหลิน^^